ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟารินต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟารินและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟารินต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟารินและพฤติกรรมการบริโภคอาหารรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง วิธีดําเนินกรวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่โ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: จุฑามาศ จินาทิตย์, Jutamart Jinatit, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, Usavadee Asdornwised, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, Wanpan Pinyopasakul, วรวงศ์ ศลิษฎ์อรรถกร, Worawong Slisatkorn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/21931
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟารินต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟารินและพฤติกรรมการบริโภคอาหารรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง วิธีดําเนินกรวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จํานวน 68 ราย ดําเนินการตั้งแต่กรกฎาคม 2556 ถึงมีนาคม 2557 กําหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 34 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟาริน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเสี่ยงทางด้านร่างกายและการจําหน่ายผู้ป่วยแบบบันทึกความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟาริน และแบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test, Independent t test และ Pair t-test ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟารินในสัปดาห์ที่ 12 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = .00) และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในสัปดาห์ที่ 4 และ 12 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = .00, p = .00) สรุปและข้อเสนอแนะ: ทีมพยาบาลผู้ดูแลควรพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟาริน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟาริน และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมมากขึ้น