การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจําเป็นต้องมีสมรรถนะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ตัดสินใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ เครื่องมือในการประเมินสมรรถนะจึงต้องมีความแม่นยําสามารถประเมินได้ตรงกับระดับความสามารถที่แท้จริง วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เสาวนีย์ เนาวพาณิช, Saowanee Naowapanich, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, Boontip Siritarungsri, สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, Supim Sripunvoraskul, พิชชุดา วิรัชพินทุ, Pitchuda Wiratchpintu, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, Wanpen Pinyopasakul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/21932
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจําเป็นต้องมีสมรรถนะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ตัดสินใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ เครื่องมือในการประเมินสมรรถนะจึงต้องมีความแม่นยําสามารถประเมินได้ตรงกับระดับความสามารถที่แท้จริง วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศิริราช 2) พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะฯ และ 3) ประเมินผลการนําแบบประเมินสมรรถนะฯ ไปใช้ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา วิธีดําเนินการวิจัย: สถานที่วิจัย ได้แก่ หอผู้ป่วยวิกฤติที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศิริราช คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลักด้านความคาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะฯ ประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วย 3 คน พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ 6 คน อาจารย์พยาบาล 2 คน อาจารย์แพทย์ 2 คน ผู้ป่วย 5 คน และผู้ดูแลผู้ป่วย 5 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับการประเมินผลการนําแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดไปทดลองใช้ ได้แก่ หัวหน้าหอผู้ป่วยหออภิบาลโรคหัวใจ 1 คน โดยประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานจํานวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความคาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะฯ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลฯ และแบบประเมินผลการนําแบบประเมินสมรรถนะฯไปใช้ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้หาทั้งฉบับ เท่ากับ .92 และค่าความเที่ยงของผู้ประเมิน เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: 1) ความคาดหวังของผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศิริราช แบ่งเป็น 8 ประเด็น โดยผู้วิจัยได้นําข้อมูลที่ได้ร่วมกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะฯ 2) แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพฯ ประกอบด้วยสมรรถนะ 3 ด้าน ได้แก่ ความสามารถเชิงวิชาชีพ (professional competency) ความสามารถทั่วไป (common functional competency) ความสามารถเฉพาะทาง (specific functional competency) และ 3) ผลการนําแบบประเมินสมรรถนะฯ ไปใช้พบว่า แบบประเมินฯ สามารถนําไปใช้ประเมินสมรรถนะของพยาบาล โดยสามารถจําแนกสมรรถนะของพยาบาลแต่ละกลุ่มได้ สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพให้สอดคล้องและครอบคลุมสมรรถนะที่ต้องการ