ปัจจัยทํานายการคุมกําเนิดของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรกในระยะหลังคลอด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถของปัจจัยด้านรายได้ ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเหนิด ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด และการรับรู้การสนับสนุนจากบุคคลสำคัญ ในการทำนายการคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรกในระยะหลังคลอด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นหลั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นาฏนฤมล ทองมี, Nardnarumon Thongmee, เอมพร รตินธร, Ameporn Rathinthorn, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, Piyanun Limruangrong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/21938
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถของปัจจัยด้านรายได้ ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเหนิด ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด และการรับรู้การสนับสนุนจากบุคคลสำคัญ ในการทำนายการคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรกในระยะหลังคลอด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นหลังคลอดบุตรคนแรกที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ประจำจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 122 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการคุมกำเนิด แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนจากบุคคลสำคัญ และแบบสัมภาษณ์การคุมกำเนิด 6 สัปดาห์หลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบที (t - test) การทดสอบของแมนและ วิทนีย์ (Mann-Withney) และสถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic regression analysis) ผลการวิจัย: ปัจจัยด้านรายได้ ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเหนิด ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด และการรับรู้การสนับสนุนจากบุคคลสำคัญไม่สามารถทำนายการคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรก ในระยะหลังคลอดได้ (p > .05) นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการคุมกำเนิดน้อย (X = 8.35, SD = 3.04) และทราบเพียงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเท่านั้น (ร้อยละ 79.50) ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีการคุมกำเนิดเมื่อมาตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ โดยมีมารดาเป็นผู้ตัดสินใจในการคุมกำเนิดของสตรีวัยรุ่น (ร้อยละ 83.6) สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด ตั้งแต่เริ่มเป็นวัยรุ่น ช่วงอายุ 10-15 ปี และให้อีกครั้งในทุกช่วงๆ ทั้งระยะตั้งครรภ์ คลอด ไปถึงหลังคลอด รวมไปถึงมารดาวัยรุ่นควรได้รับการส่งเสริมให้มาตรวจหลังคลอดทุกราย นอกจากนี้ มารดาของมารดาวัยรุ่นควรได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุมกำเนิด เพื่อช่วยเหลือให้มารดาวัยรุ่นมีการคุมกำเนิดหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง