ประสบการณ์ และการเตรียมความพร้อมในภาวะภัยพิบัติน้ำท่วมของผู้ป่วยเรื้อรังและญาติผู้ดูแลในประเทศไทย

วัตถุประสงค์: ศึกษาประสบการณ์ผู้ป่วยเรื้อรังและญาติผู้ดูแลระหว่างภาวะภัยพิบัติน้ำท่วม การเตรียมความพร้อมในภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา และการเตรียมความพร้อมในภาวะภัยพิบัติน้ำท่วมในอนาคต รูปแบบการวิจัย: การวิจัยด้วยวิธีผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเรื้อรังท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: จงจิต เสน่หา, Chongjit Saneha, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, Wanpen Pinyopasakul, วาสินี ชาญศรี, Wasinee Charnsri
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/21960
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: ศึกษาประสบการณ์ผู้ป่วยเรื้อรังและญาติผู้ดูแลระหว่างภาวะภัยพิบัติน้ำท่วม การเตรียมความพร้อมในภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา และการเตรียมความพร้อมในภาวะภัยพิบัติน้ำท่วมในอนาคต รูปแบบการวิจัย: การวิจัยด้วยวิธีผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่เป็นโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงจำนวน 30 คน และ ญาติผู้ดููแล 30 คน อาศัยใน 2 ชุมชนเมืองในประเทศไทย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฏาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2556 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคล แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมในภาวะภัยพิบัตินํ้าท่วม และสัมภาษณ์แบบกลุ่ม ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมในภาวะภัยพิบัตินํ้าท่วมของผู้ป่วยเรื้อรัง (M = 5.40, SD = 4.24) และญาติผู้ดูแล (M = 6.56, SD = 4.65) บ่งชี้ว่ามีการเตรียมความพร้อม อยู่ในระดับต่ำ ทั้งผู้ป่วยเรื้อรัง และญาติผู้ดูแลมีประสบการณ์ลำบากทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจระหว่างน้ำท่วม ส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจและบ้านพักอาศัย มากกว่าการจัดการโรคและภาวะสุขภาพ หกประเด็นที่ปรากฏจากการสัมภาษณ์ได้แก่ การเตรียมสำหรับภัยธรรมชาติและการจัดการการเจ็บป่วย การจัดการสุขภาพ การตอบสนองทางอารมณ์ ความต้องการการช่วยเหลือประคับประคองทางด้านร่างกาย และจิตใจ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการเตรียมความพร้อมในอนาคตสำหรับการจัดการตนเอง นอกจากนี้ผู้ป่วยและญาติส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้นำชุมชนในท้องถิ่นมีการจัดการแหล่งประโยชน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติน้ำท่วมในอนาคต สรุป และข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยและญาติยังขาดการเตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติน้ำท่วม ทั้งนี้ การสนับสนุนด้านข้อมูลและการช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจจากพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อการเตรียมพร้อมที่ดีขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ผู้ป่วย และญาติทุกคนรวมทั้งชุมชนสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภาวะภัยพิบัติ และพัฒนากลวิธีการเตรียมความพร้อมอย่างมีประสิทธิภาพ