การสร้างและทดสอบเครื่องมือประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาการช่วยเหลือทางจิตใจจากบุคลากรทางสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล

วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างและทดสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาการช่วยเหลือทางจิตใจจากบุคลากรทางสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งสร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรม รูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ วิธีดำเนินการวิจัย: แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะพัฒนาเครื่...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วไลลักษณ์ พุ่มพวง, Walailak Pumpuang, อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, Acharaphon Seeherunwong, นพพร ว่องสิริมาศ, Nopporn Vongsirimas
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/22573
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างและทดสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาการช่วยเหลือทางจิตใจจากบุคลากรทางสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งสร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรม รูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ วิธีดำเนินการวิจัย: แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะพัฒนาเครื่องมือ และระยะทดสอบคุณภาพเครื่องมือกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่มีระดับคะแนนจากการคัดกรองด้วยแบบประเมินความทุกข์ทางจิตใจ ความเครียด ซึมเศร้าและวิตกกังวลอย่างน้อย 1 ด้านสูงกว่าปกติ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน ตอบแบบสอบถามปลายเปิดเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเกี่ยวข้องกับบททัศนคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรมในการนำไปสร้างแบบสอบถาม ระยะนี้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน ตอบแบบสอบถามที่สร้างขึ้น นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการหาอำนาจจำแนกจากความแตกต่างของตัวแปรระหว่างกลุ่ม คะแนนสูง และกลุ่มคะแนนต่ำโดยใช้สถิติ t-test และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยการทดสอบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ผลการวิจัย : พบว่า แบบสอบถามที่สร้างขึ้นนี้ จำนวน 50 มี ข้อคำถามที่ใช้ได้จำนวน 41 ข้อ ลักษณะคำตอบเป็นมาตรวัดแบบ 2 ขั้วแบ่งเป็น 7 ระดับ ประกอบด้วยข้อคำถามความตั้งใจในการทำพฤติกรรมจำนวน 3 ข้อ ทัศนคติต่อพฤติกรรมจำนวน 19 ข้อ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงจำนวน 11 ข้อ และการรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรมจำนวน 8 ข้อ ความเชื่อมั่นขอแบบสอบถามอยู่ระหว่าง .65 - .96 สรุปและข้อเสนอแนะ: การศึกษาครั้งนี้เป็นหลักฐานในการนำทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรมมาใช้สร้างแบบสอบถามในการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การแสวงหาการช่วยเหลือทางจิตใจจากบุคลากรทางสุขภาพจิตอย่างไรก็ ตามแบบสอบถามนี้เป็นเครื่องมือใหม่ในบริบทของนักศึกษาพยาบาล อาจารย์และบุคคลากรทางสุขภาพจิต ควรได้มีการทดสอบคุณภาพของเครื่องมือซาํ้ ก่อนนำไปใช้