อิทธิพลของความเครียด สถานภาพทางการเงิน การรับรู้ความรุนแรงของอาการและการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งอุ้งเชิงกรานขณะได้รับรังสีรักษา
วัตถุประสงค์ ศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และอิทธิพลของความเครียด สถานภาพทางการเงิน การรับรู้ ความรุนแรงของอาการ และการรับรู้อุปสรรค ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งอุ้งเชิงกรานขณะได้รับรังสีรักษา รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2018
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/22811 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์ ศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และอิทธิพลของความเครียด สถานภาพทางการเงิน การรับรู้ ความรุนแรงของอาการ และการรับรู้อุปสรรค ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งอุ้งเชิงกรานขณะได้รับรังสีรักษา
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งอุ้งเชิงกรานขณะได้รับรังสีรักษาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 86 ราย ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูล โดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล รวมสถานภาพทางการเงิน 2) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของอาการ 3) แบบสอบถามความเครียด ST-5 4) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และ 5) แบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์อำนาจ การทำนายโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: คะแนนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมเฉลี่ย 157.58 คะแนน (M = 3.03, SD = 2.70) ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 78.5 (R2 = .785, F(4, 81) = 73.763, p < .001) โดยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของอาการ (β = - .456, p < .001) ความเครียด (β = - .268, p < .01) และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (β = - .235, p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้วิจัยเสนอแนะว่าพยาบาลควรการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วย มะเร็งอุ้งเชิงกรานขณะได้รับรังสีรักษา โดยการประเมินความเครียดช่วยเหลือจัดการกับ อาการข้างเคียงระหว่างรับการรักษา และลดอุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อส่งเสริมผลลัพธ์การรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย |
---|