การประเมินการสัมผัสแอสเบสตอสของคนงานที่ทำการรื้อถอนอาคารที่มีวัสดุแอสเบสตอสและความเข้มข้นที่ฟุ้งกระจายในสิ่งแวดล้อม

บทความวิจัยนี้มาจากการศึกษาและการเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อวิเคราะห์การสัมผัสเส้นใยแอสเบสตอสจากการรื้อถอนอาคาร ซึ่งมีวัสดุที่มีแอสเบสตอสเป็นส่วนผสม โดยทำการเก็บตัวอย่างอากาศทั้งที่ตัวคนงานในระหว่างทำการรื้อถอนวัสดุแอสเบสตอสและในสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร ซึ่งผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของเส้นใยที่คนงานได้รับส...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ไชยนันท์ แท่งทอง, วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2011
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2323
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทความวิจัยนี้มาจากการศึกษาและการเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อวิเคราะห์การสัมผัสเส้นใยแอสเบสตอสจากการรื้อถอนอาคาร ซึ่งมีวัสดุที่มีแอสเบสตอสเป็นส่วนผสม โดยทำการเก็บตัวอย่างอากาศทั้งที่ตัวคนงานในระหว่างทำการรื้อถอนวัสดุแอสเบสตอสและในสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร ซึ่งผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของเส้นใยที่คนงานได้รับสัมผัสในระหว่างการรื้อฝ้าเพดานและหลังคาและในสิ่งแวดล้อมภายในอาคารอยู่ในช่วง 0.1 - 0.4 เส้นใย/มล.อากาศ ซึ่งมีค่าสูงกว่าหรือใกล้เคียงค่ามาตรฐาน TLV 0.1 เส้นใย/มล.อากาศ จัดว่าเป็นระดับความเข้มข้นที่มีอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นคนงานที่ทำงานดังกล่าวและในบริเวณใกล้เคียงควรทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานเพื่อลดการฟุ้งกระจายของเส้นใยแอสเบสตอส นอกจากนี้ยังพบว่าการรื้อฝ้าเพดานจำทำให้เกิดการสัมผัสเส้นใยแอสเบสตอลมากกว่าการรื้อหลังคา เนื่องจากลักษณะการทำงานที่ทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของเส้นใยมากกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับความเข้มข้นของเส้นใยในบรรยากาศบริเวณรอบๆ อาคารพบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐานดังกล่าว จากผลการวิจัยดังกล่าวทำให้ทราบว่าประเทศไทยควรมีการดำเนินการศึกษาผลของการฟุ้งกระจายแอสเบสตอสที่เกิดจากการรื้อถอนอาคารอย่างจริงจัง เพื่อใช้ในการกำหนดมาตรฐานการรื้อถอนอาคารเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานต่อไป