ความต้องการและความพร้อมขององค์กรในการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค
การศึกษาความต้องการและความพร้อมในสมรรถนะด้านการควบคุมโรคขององค์กรใน และนอก กระทรวงสาธารณสุข ทั้งในกลุ่มอุปสงค์และอุปทาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่ให้ ผู้ตอบกรอกเอง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เอกสาร ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จัดว่าเป็นลูกค้าของกรมควบคุมโรค ได้แ...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2017
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2367 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาความต้องการและความพร้อมในสมรรถนะด้านการควบคุมโรคขององค์กรใน และนอก
กระทรวงสาธารณสุข ทั้งในกลุ่มอุปสงค์และอุปทาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่ให้
ผู้ตอบกรอกเอง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เอกสาร ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่จัดว่าเป็นลูกค้าของกรมควบคุมโรค ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์
โรงพยาบาลทั่วไป และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทุกระดับ กับกลุ่มที่เป็นผู้มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้เพื่อ
พัฒนาสมรรถนะด้านการควบคุมโรคแก่บุคลากรกลุ่มลูกค้า ได้แก่ สถาบันฯ สำนักฯ และสำนักงานป้องกัน
และควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค และมหาวิทยาลัย
ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มลูกค้าทุกหน่วยงานมีความต้องการการพัฒนาสมรรถนะฯในสัดส่วนสูงมาก
สมรรถนะที่ต้องการมากที่สุด คือ ความรู้ในการป้องกันควบคุมโรค ตามด้วยทักษะในการเฝ้าระวังโรค
ด้านการสอบสวน การควบคุมการระบาด และการวิจัย และเกือบทั้งหมดเห็นว่า ควรตั้งสถาบันฝึกอบรม
ขึ้นมาใหม่ภายใต้กรมควบคุมโรค ร้อยละ 100 ของกลุ่มผู้มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยี
เห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาสมรรถนะทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเทคโนโลยีการเฝ้าระวังควบคุมโรค
รวมทั้งทักษะในด้านการจัดการอบรมและถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรสาธารณสุขทั้งระบบทุกระดับทั้ง
ภายในและภายนอกกรมควบคุมโรค รวมทั้งองค์กรเครือข่าย ทุกองค์กรรับรู้บทบาทของตนในฐานะของ
การเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ รองลงมาคือ บทบาทผู้สนับสนุน และผู้นิเทศ ตรวจสอบ นอกจากสถาบันฯ
ที่ทำหน้าที่บริการผู้ป่วย และสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคบางแห่งที่ทำบทบาทผู้ปฏิบัติการ
โดยสถาบันฯ ประเมินว่า ตนเองมีความพร้อมตามบทบาทค่อนข้างสูง ส่วนของสำนักฯและสำนักงาน
ป้องกันและควบคุมโรค ประเมินความพร้อมของตนเองโดยเฉลี่ยในระดับกลาง
กลุ่มผู้ถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยี มีความเห็นว่า กรมควบคุมโรคต้องเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
การฝึกอบรม แต่ความคิดเห็นแบ่งเป็น 2 แนวทางคือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ต้องตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่ โดยให้
สำนักฯ และสำนักงานป้องกันและควบคุมโรค เป็นองค์กรฝึกอบรมในระดับส่วนกลาง และระดับเขต
ตามลำดับ กับอีกฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่า ต้องตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่ที่มีฐานะเทียบเท่าสำนักฯ อยู่ในกำกับ
กรมควบคุมโรค |
---|