ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ

การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ และปัจจัยที่มี อิทธิพลและสามารถคาดทำนายพฤติกรรมละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุระหว่าง 13-19 ปี จำนวน 420 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เบญจรัตน์ สุทินเผือก, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, จรวยพร สุภาพ, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว
Format: Article
Language:Thai
Published: 2011
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2431
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ และปัจจัยที่มี อิทธิพลและสามารถคาดทำนายพฤติกรรมละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุระหว่าง 13-19 ปี จำนวน 420 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 46 มีพฤติกรรมละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในระดับสูง ร้อยละ 34 อยู่ในระดับตํ่า และร้อยละ 20 อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย ปัจจัยนำ ได้แก่ อายุ เพศชาย เจตคติต่อพฤติกรรมละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส การปฏิบัติตามหลักศาสนา ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษา ปัจจัยเสริม ได้แก่ การรับรู้บรรทัดฐาน ของกลุ่มเพื่อน ปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถคาดทำนายพฤติกรรมละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ การรับรู้บรรทัดฐานของกลุ่มเพื่อน การได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษา เพศชาย และอายุ โดยสามารถร่วมกัน ทำนายได้ร้อยละ 19.4 ผลการศึกษาแนะนำให้หน่วยงานสาธารณสุขให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาเชิงรุกแบบมีส่วนร่วมกับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน เพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนและส่งเสริมพฤติกรรมละเว้นและยืดระยะเวลาการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนสมรสในวัยรุ่น