ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายสำหรับเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการการเกินในเขตกรุงเทพมหานคร

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายสำหรับเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในชั้นประถมศึกษาปีท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วีณา เที่ยงธรรม, อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุนีย์ ละกำปั่น, ปริยาภรณ์ มณีแดง, Weena Thiangtham, Apaporn Powwattana, Sunee Lagampan, Pariyaporn Maneedang
Format: Article
Language:Thai
Published: 2014
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2450
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายสำหรับเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อายุระหว่าง 10 -12 ปี จากโรงเรียน 2 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครแบ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ สุ่มเลือกได้กลุ่มทดลองจำนวน 31 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 32 คน ใช้ระยะเวลาของการทำกิจกรรมในโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 5 สัปดาห์และติดตามผลหลังสิ้นสุดกิจกรรม 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสบอถามก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Independent-Sample t-test และ Repleated Measure ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองและระยะติดตามผลหลงัการทดลอง 4 สัปดาห์กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคอ้วน การบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ความเชื่อในความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีและการปฏิบัติตนในการบริโภคอาหารและออกกำลังกายดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนยัสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ผลการวิจัยสนันสนุนว่า การจัดโปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย มีส่วนช่วยเพิ่มความรู้และสร้างความเชื่อในความสามารถตนเองขงอตนเอง อีกทั้งยังทำให้นักเรียนมีการปฏิบัติในการควบคุมน้ำหนักได้ติดต่อกันไปอย่างสม่ำเสมอ