ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จังหวัดแพร่

โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต หากไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยการรับประทานอาหารต้านความดันโลหิตสูงและอาหาร โซเดียมต่ำ จึงมีส่วนช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลขอ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เสาวณีย์ ขวานเพชร, พัชราณี ภวัตกุล, มันทนา ประทีปะเสน, นิรัตน์ อิมามี, ฉวีวรรณ บุญสุยา, Patcharanee Pavadhgul, Mandhana Pradipasen, Nirat Imamee, Chaweewon Boonshuyar
Format: Article
Language:Thai
Published: 2015
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2452
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต หากไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยการรับประทานอาหารต้านความดันโลหิตสูงและอาหาร โซเดียมต่ำ จึงมีส่วนช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต โดยประยุกต์ใช้ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุ ระดับที่ 1 อายุระหว่าง 35-70 ปี จากคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 31 คน ระยะเวลาในการทดลอง 7 สัปดาห์ และติดตามผลหลังการทดลองอีก 4 สัปดาห์ รวม 11 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้การบันทึกอาหารบริโภค 3 วัน แบบบันทึกระดับความดันโลหิตสูง น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย Independent sample t-test, Paired t-test และ Two-way repeated measurement ANOVA ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการบริโภค พลังงานรวม ไขมันรวม ไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล และโซเดียม หลังทดลอง ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และเมื่อเปรียบเทียบการบริโภคอาหารระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่ากลุ่มทดลองมีการบริโภคไขมันรวม ไขมันอิ่มตัว ลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มทดลองบริโภคโพแทสเซียมสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก และไดแอสโตลิก ลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.001) และมีแนวโน้มลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบแต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การจัดโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการ โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฎีการรับรู้ความสามารถ ตนเอง มีส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตลดลง จึงควร นำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มอื่นๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ Hypertension is a group of diseases that causes CVD and kidney disease, especially among patients with poor blood pressure control. Changing health behaviors, for example, following a DASH (Dietary Approach to Stop Hypertension) eating plan and a low-sodium diet, will assist in preventing such complications. The purpose of this quasi-experimental research study was to evaluate the effectiveness of a nutrition promotion program on dietary consumption behaviors concerning blood pressure control by applying the Health Belief Model and Self-efficacy theory. The samples were 35-70 year old patients at primary hypertension stage 1, attending a hypertension clinic at Crown Prince Hospital, Denchai District, Phrae Province, Thailand. They were divided into two groups, 30 in the experimental group and 31 in the comparison group. The 11-week program started with a treatment period of seven weeks and a follow-up of four weeks .The questionnaire used for data collection included a three-day food record, an interview on dietary consumption behaviors and recording blood pressure, body weight and BMI. Statistical analysis included mean, standard mean error, independent sample t-tests, paired t-tests, and a two-way repeated measurement ANOVA. Results showed that after treatment, diet consumption of the experimental group - including total energy, total fat, saturated fat, cholesterol, and sodium - were significantly lower than before the treatment (p<0.001). In addition, total fat and saturated fat intake of the experimental group were significantly lower than that of the comparison group (p<0.001) and potassium intake were significantly higher than that of the comparison group (p<0.05). Systolic blood pressure and diastolic blood pressure of the experimental group was also significantly lower than those before the program (p<0.001) and trend to lower than those in the comparison group but no statistical difference. This study revealed that the nutrition promotion program applying the Health Belief Model and Selfefficacy theory could have helped to encourage patients to change their dietary behavior, which led to decreased blood pressure levels. Therefore, this program should be tried with other hypertensive patients to prevent complications.