โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมจากสมาชิกครอบครัว เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , |
---|---|
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2466 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมจากสมาชิกครอบครัว เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การรับประทานยา การดูแลเท้าและสุขอนามัยทั่วไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 38 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 40 คน มีระยะทดลอง 4 สัปดาห์ ระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Repeated oneway ANOVA
ผลวิจัยพบว่า หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ผลลัพธ์ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.016) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบพบว่า หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ในผลลัพธ์พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพคือ พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การรับประทานยา การดูแลเท้าและสุขอนามัยทั่วไป สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.016)
การมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัวในโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ จะช่วยให้การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้ป่วยสูงขึ้น เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและยั่งยืน
This quasi-experimental study was to examine the effectiveness of a health promotion
program for uncontrolled type 2 diabetes in Ayuthaya province, Thailand by applying the
protection motivation theory and social support from family members in promoting an appropriate
dietary intake, enhanced physical activities, medication, therapeutic foot care, and general hygiene.
One group of thirty-eight persons was selected to be the experimental group, and another forty
persons were selected to be in the control group. The research procedure lasted for four weeks
of experimentation and four weeks of follow-up. Data was collected by self-administered questionnaires.
Statistical analysis was performed by using mean, median, standard deviation, Independent t-test,
and the Repeated oneway ANOVA.
The results showed that, after the experiment and follow-up, the experimental group had
a significantly higher mean score of knowledge about diabetes, its perceived severity, vulnerability,
self-efficacy, response efficacy, and healthy behavior promotion regarding appropriate dietary
intake, enhanced physical activities, medication, therapeutic foot care, and general hygiene than
before the experiment (p-value <0.016). The experimental group also had a significantly higher mean
score than the control group regarding these factors (p-value < 0.016).
The involvement of family members in the health promotion program brought about
increasingly higher levels of perceived self-efficacy to further enhance sustainable practices
concerning positive behavior changes among the patients. |
---|