เชื้อสแตฟฟิโลคอกคัสออเรียสและเชื้อชนิดที่ดื้อยาเมทธิซิลลิน ในผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อผิวหนังและเนื้อเยื่อของโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน และปราณบุรี

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อStaphylococcus aureus และMethicillin-Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยนอกที่มีการติดเชื้อของผิวหลังและเนื้อเยื่อที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน และปราณบุรีในระหว่างเดือนกรกฎาคม –...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พัชนี พัฒราช, ศุภชัย ปิติกุลตัง, ชาญชุติ จรรยาสัณห์, ดุสิต สุจิรารัตน์, Supachai Pitikultang, Charnchudhi Chanyasanha, Dusit Sujirarat
Format: Article
Language:Thai
Published: 2015
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2496
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อStaphylococcus aureus และMethicillin-Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยนอกที่มีการติดเชื้อของผิวหลังและเนื้อเยื่อที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน และปราณบุรีในระหว่างเดือนกรกฎาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยตอบแบบสอบถามและเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจากแผลนำมาเพาะเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพโดย วิธี disc diffusion method วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ mean, SD, t-test และ chi-square ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยนอกจำนวน 405 คน ที่มีการติดเชื้อที่ผิวหนังเป็นชายร้อยละ 65.7 หญิง ร้อยละ 34.3 มีการติดเชื้อ S. aureus ร้อยละ 37 ในจำนวนนี้เป็นการติดเชื้อ MRSA 11 ราย (ร้อยละ 7.3) ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ S. aureus คือ การใช้เสื้อผ้าและสิ่งของร่วมกับผู้อื่น (p = 0.022) ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น ปัจจัยด้านประชากร อาการทางคลินิก วิถีชีวิต พฤติกรรมด้านอนามัยส่วนบุคคลและประวัติพื้นหลังของบุคคลไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ S. aureus ผลการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพพบว่า MRSA ทั้งหมดดื้อต่อยา oxacillin, penicillin และ cefoxitin แต่ยังคงไวต่อยา vancomycin การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ของร่วมกันทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อแบบสัมผัสใกล้ชิด (closed contact transmission) ได้ ดังนั้นควรมีการให้ความรู้เรื่องการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดและการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะเสื้อผ้า และผ้าเช็ดตัว บุคลากรที่ทำงานด้านคลินิกการรักษาพยาบาลผุ้ป่วยทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนควรตระหนักถึงการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ This was a cross sectional study designed to determine the prevalence of Staphylococcus aureus and Methicillin-Resistant- Staphylococcus aureus (MRSA) among outpatients with skin and soft tissue infections at three hospitals in Prachuapkhirikhan Province: Prachuapkhirikhun General, Hua Hin and Pranburi Hospitals and to determine factors related to the transmission of S. aureus. S. aureus were identified and tested for antimicrobial susceptibility by the disc diffusion method. Data were collected by self-administered questionnaires from July 2008 to June, 2009. Statistical analyses used were percentage, mean and Pearson’s chi-square. Out of a total 405 outpatients with skin and soft tissue infections, 65.7% were found to be men and 34.3% were women. The prevalence of S. aureus infection was 37%. Among these 11 patients (7.3%) were found to have MRSA infection. The only factor found to be related to staphylococcal infection was the sharing of personal items with others (p = 0.022). The other factors, such as other general characteristics, clinical presentations, lifestyles of the study patients, personal hygiene behavior and past history background were not related to staphylococcal infection. The strains of MRSA in this study were found to resist to oxacillin, penicillin, and cefoxitin, but susceptible to vancomycin. The study suggests that providing knowledge on the avoidance of close contact and the sharing personal belongings could prevent staphylococcal infections, especially among health personnel who taking care of patients with skin and soft tissue infections.