รูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์และความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

การใช้คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในวัยรุ่นหญิงที่ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การใช้ คอมพิวเตอร์เป็นประจำในระยะเวลานานอาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการ การสำรวจภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์และทดสอบความสัมพันธ์ของชั่วโมงการใช้คอมพิวเตอร์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษา ป...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เหมือนแพร รัตนศิริ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, รัชดา เกษมทรัพย์, มธุรส ทิพยมงคลกุล, Warapone Satheannoppakao, Mathuros Tipayamongkholgul
Format: Article
Language:Thai
Published: 2015
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2498
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การใช้คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในวัยรุ่นหญิงที่ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การใช้ คอมพิวเตอร์เป็นประจำในระยะเวลานานอาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการ การสำรวจภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์และทดสอบความสัมพันธ์ของชั่วโมงการใช้คอมพิวเตอร์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษา ปีที่ 4-6 จำนวน 252 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์ แบบสอบถามความถี่กึ่งปริมาณในการบริโภคอาหารและแบบบันทึกน้ำหนักและส่วนสูง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์และภาวะโภชนาการ ใช้ Mann-Whitney U Test และ Chi-square Test ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 80.6 ของกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 16-18 ปี ค่ามัธยฐานของจำนวนวันและชั่วโมงที่ใช้คอมพิวเตอร์เท่ากับ 7 วัน/สัปดาห์ และ 3.50 ชม./วัน กลุ่มอายุ 15 ปีที่ใช้คอมพิวเตอร์ ณ 3 ชม./วัน ได้รับโซเดียมมากกว่ากลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์ < 3 ชม./วัน (p=0.04) ขณะที่กลุ่มอายุ 16-18 ปีที่ใช้คอมพิวเตอร์ ≥ 3 ชม./วัน ได้รับพลังงานคาร์โบไฮเดรต โปรตีนรวม โปรตีนจากสัตว์ ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไรโบฟลาวิน และไนอะซินมากกว่า (p < 0.05) และกลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์ ≥ 3 ชม./วัน มีสัดส่วนของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง >+1.5 SD สูงกว่า (p = 0.03) สรุปชั่วโมงการใช้คอมพิวเตอรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์ ≥ 3 ชม./วัน ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของการได้รับพลังงานและสารอาหารบางชนิดรวมถึงการมีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง >+1.5 SD Computer usage is likely to increase among female adolescents studying in senior high schools. Regular computer usage for extended periods may potentially affect nutritional status. The objectives of this crosssectional survey were to examine computer usage patterns and consider the association between number of hours of computer usage with nutritional status among 252 female students in grades 10-12. Data were collected by using a general information questionnaire, a computer usage pattern questionnaire, a semi-quantitative food frequency questionnaire, and height and weight records. Association between number of hours of computer usage and nutritional status was analyzed by Mann Whitney U test and Chi-square test. Based on analysis of data, 80.6% of the sample group was aged 16-18 years old. The participants’ used a computer a median number of seven days per week, 3.5 hours per day. Participants aged 15 years using a computer ≥3 hrs/d consumed a higher amount of dietary sodium than those using a computer <3 hrs/d (p=0.04). Participants aged 16-18 years using a computer ≥3 hrs/d consumed larger amounts of energy, carbohydrate, total protein, animal protein, fat, calcium, phosphorus, ribofl avin, and niacin (p<0.05) than those using a computer <3 hrs/d. Additionally, all participants, regardless of age, using a computer ≥3 hrs/d had a higher weight to height ratio at >+1.5 SD (p=0.03). In conclusion, using a computer ≥3 hrs/d was associated with increases in energy and some nutrient intakes as well as increased weight to height ratio indices >+1.5 SD.