ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแล เพศ อายุ การรบกวนจากอาการและการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแล เพศ อายุ การรบกวนจากอาการ และการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล รูปแบบการวิจัย: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่เข้ารับการร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, Kanaungnit Pongthavornkamol, พิจิตรา เล็กดํารงกุล, Pichitra Lekdamrongkul, นพดล ศิริธนารัตนกุล, Noppadol Siritanaratkul, ศิวะพร ศิริภูล, Siwaporn Siripoon
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25170
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแล เพศ อายุ การรบกวนจากอาการ และการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล รูปแบบการวิจัย: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 50 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ แบบประเมินอาการที่พบบ่อยในโรคมะเร็ง10 อาการ และแบบประเมินคุณภาพการดูแลในมุมมองของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสหสัมพันธ์สเพียร์แมนและพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 18-78 ปี เฉลี่ย 47.14 ปี (SD = 14.94) เป็นเพศชายร้อยละ 64.0 อาการด้านร่างกายที่พบมากที่สุด ได้แก่ อาการปากแห้ง (ร้อยละ 54.0) และด้านจิตใจ ได้แก่ กังวล/กลุ้มใจ (ร้อยละ 38.0) ระดับความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลที่กลุ่มตัวอย่างเลือกมากที่สุด (ร้อยละ 34.0) คือ passive-shared และรับรู้คุณภาพการดูแลในระดับดีและดีมาก (ร้อยละ 44 และ 38 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้คุณภาพการดูแลโดยรวมสัมพันธ์กับการรบกวนจากอาการเบื่ออาหาร (r = .318, p < .05) และอาการหงุดหงิด (r = .288, p < .05) เพศหญิงรับรู้คุณภาพการดูแลสูงกว่าเพศชายในด้าน Medical-technical competence (r = .351, p < .05) และด้านPhysical-technical conditions (r = .385, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัยด้านเพศ และการรบกวนจากอาการต่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยมะเร็งซึ่งควรประเมินจากมุมมองของผู้ป่วยเป็นฐาน