ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus: GDM) ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test (GCT) ผิดปกติ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบ Case-control study วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 252 รายเป็นสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวที่มีอา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, Piyanun Limruangrong, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, Dittakarn Boriboonhirunsarn, อภิธาน พวงศรีเจริญ, Apithan Puangsricharern, อรวรรณ พินิจเลิศสกุล, Orrawan Pinitlertsakun
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25171
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus: GDM) ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test (GCT) ผิดปกติ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบ Case-control study วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 252 รายเป็นสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป มีผลการตรวจ GCT ≥ 140 มก./ดล. และไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลตติยภูมิขนาดใหญ่ 2 โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ค้ดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่เกิด GDM (case group, n = 65 ราย) และกลุ่มที่ไม่เกิด GDM (control group, n = 187 ราย) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการรับประทานอาหารประจำวัน และแบบบันทึกการออกกำลังกายก่อนและขณะการตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคว์สแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย : อายุ และการรับประทานอาหาร สามารถทำนายการเกิดภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ที่มี GCT ผิดปกติได้ โดยสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ ≥ 25 ปีมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มากกว่าสตรีตั้งครรภ์ ที่มีอายุ < 25 ปี เท่ากับ 3.57 เท่า (95%CI = 1.17-10.83, p < .05) และสตรีที่รับประทานอาหารที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มากกว่าสตรีที่รับประทานอาหารตามเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 3.30 เท่า (95%CI = 1.71-6.35, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพควรให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานในสตรีระยะตั้งครรภ์ที่มีค่า GCT ผิดปกติ โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ ≥ 25 ปีขึ้นไป