ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้ากลวิธีการจัดการกับอาการและภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการ และภาวะการทำหน้าที่ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าและภาวะการทำหน้าที่ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างผลของการจัดการอาการอ่อนล้าและภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบการวิจัย: การศึกษาคว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อรุรินทร์ กิตติสุขตระกูล, Arurin Kittisuktarkul, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, Doungrut Wattanakitkrileart, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, Kanaungnit Pongthavornkamol
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25194
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการ และภาวะการทำหน้าที่ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าและภาวะการทำหน้าที่ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างผลของการจัดการอาการอ่อนล้าและภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 88 คนที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า 3) แบบประเมินวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้าและ ผลจากการจัดการกับอาการอ่อนล้า และ 4) แบบประเมินการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย: ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าโดยรวมอยู่ในระดับเล็กน้อย (M = 3.92, SD = 1.75) กลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้าที่กลุ่มตัวอย่างเลือกปฏิบัติและมีประสิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ งีบหลับ หรือนอนหลับช่วงสั้นๆ คะแนนภาวะการทำหน้าที่โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (M = 3.08, SD = .65) ประสบการณ์อาการอ่อนล้ามีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะการทำหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .45, p < .05) แต่ผลของการจัดการอาการอ่อนล้ากับภาวะการทำหน้าที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (r = .16, p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรตระหนักถึงอาการอ่อนล้าและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการอย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง