อิทธิพลของอาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า และการใช้ยาหลายขนานต่อพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาอำนาจการทำนายของอาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า และการใช้ยาหลายขนาน ต่อพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว รูปแบบการวิจัย: การหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวจำนวน 86 ร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วิกานดา ศรีภูมิพฤกษ์, Wikanda Sriphumpruk, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, Doungrut Wattanakitkrilert, วิชชุดา เจริญกิจการ, Vishuda Charoenkitkarn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25196
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาอำนาจการทำนายของอาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า และการใช้ยาหลายขนาน ต่อพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว รูปแบบการวิจัย: การหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวจำนวน 86 ราย ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการใช้ยาของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า แบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาใน ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ผลลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.8 มีประสบการณ์มีอาการเหนื่อยล้า ปานกลาง ร้อยละ 37.2 มีความแตกฉานด้านสุขภาพเพียงพอ ร้อยละ 41.9 มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 51.20 ใช้ยา 3-6 ขนาน (Max = 13, Min = 3, M = 6.78, SD = 2.72) และร้อยละ 62.8 มีพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยา อาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า การใช้ยาหลายขนาน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ร้อยละ 15.3 (R2 = .153, F = 3.667, df = 4, p < .05) ภาวะซึมเศร้าเพียงปัจจัยเดียวสามารถพยากรณ์พฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู็ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .416, t = 3.769, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรให้ความสนใจในการประเมินภาวะซึมเศร้าและให้การพยาบาล เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว