ผลของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่มต่อระดับ ฮีโมโกลบินเอวันซี ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่มต่อระดับฮีโมโกบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 58 คน โดยการสุ่มแบบง่ายจากประชากรและสุ่มเลือกเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อภิชาติ ศิริสมบัติ, Apichat Sirisombut, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, Sasima Kusuma Na Ayuthya, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, Wimolrat Puwarawuttipanit, สุพรรณี จิรจริยาเวช, Supunnee Jirajariyavej
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25200
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่มต่อระดับฮีโมโกบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 58 คน โดยการสุ่มแบบง่ายจากประชากรและสุ่มเลือกเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง จำนวน 28 คนได้รับโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่มภายใต้แนวคิดการจัดการตนเองและทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน และกลุ่มควบคมุ จำนวน 30 คนได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามและการจดบันทึกด้วยตัวเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ สถิติอ้างอิง (ไคสแควร์ การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม) ผลการวิจัย : กลุ่มทดลองมีระดีบฮีโมโกบินเอวันซีหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุป และข้อเสนอแนะ: การให้ความรู้ฝึกทักษะการสนับสนุนของพยาบาล การใช้โทรศัพท์กระตุ้นติดตามและการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน เป็นแกนสำคัญของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่ม ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับฮีโมโกลบินเอวันซีได้ดี สามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในหน่วยบริการสุขภาพอื่นที่คล้ายคลึงกันได้