ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ
วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง คือ ระดับการรู้คิด ความปวดภายหลังการผ่าตัดการได้รับยาระงับความปวดกลุ่ม opioid ภาวะเพ้อสับสนภายหลังการผ่าตัด และคุณภาพการนอนหลับ ต่อการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัด ในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2018
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25203 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง คือ ระดับการรู้คิด ความปวดภายหลังการผ่าตัดการได้รับยาระงับความปวดกลุ่ม opioid ภาวะเพ้อสับสนภายหลังการผ่าตัด และคุณภาพการนอนหลับ ต่อการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัด ในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 113 ราย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE- Thai 2002) แบบวัดความปวดภายหลังการผ่าตัด แบบประเมินการได้รับยากลุ่ม opioid แบบประเมินภาวะเพ้อสับสนภายหลังการผ่าตัด แบบสอบถามการนอนหลับ และแบบประเมินภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจภายหลังการผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย: ร้อยละ 27.40 ของกลุ่มตัวอย่าง มีภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัด ระดับการรู้คิด ความปวดภายหลังการผ่าตัด ปริมาณการได้รับยาระงับความปวดกลุ่ม opioid ภาวะเพ้อสับสนภายหลังการผ่าตัดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรทางการแพทย์สามารถนำผลการวิจัยไปเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด โดยการประเมินการรู้คิด ความปวด การได้รับยากลุ่ม opioid ภาวะเพ้อสับสนภายหลังการผ่าตัด เพื่อลดผลกระทบ และความรุนแรงของการเกิดภาวะการสูญเลียหน้าที่การรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้ |
---|