ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยสารสาธารณะกับกลุ่มอาการอาคารป่วยในพนักงานจำหน่ายตั๋วโดยสาร เขตจตุจักร
การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคาร โดยสารสาธารณะกับกลุ่มอาการอาคารป่วยในพนักงานจำหน่ายตั๋วโดยสาร โดยเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อตรวจวัดปริมาณ อนุภาคฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) จำนวน 34 ตัวอย่างปริมาณเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราอย่างละ 136 ตัวอย่า...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2522 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคาร
โดยสารสาธารณะกับกลุ่มอาการอาคารป่วยในพนักงานจำหน่ายตั๋วโดยสาร โดยเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อตรวจวัดปริมาณ
อนุภาคฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) จำนวน 34 ตัวอย่างปริมาณเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราอย่างละ 136
ตัวอย่างและปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ อย่างละ 68 ตัวอย่าง
ในบริเวณช่องจำหน่ายตั๋ว และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นขณะที่พนักงานจำหน่ายตั๋ว
โดยสารปฎิบัติงานมีผู้เข้าร่วมโครงการ 219 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์
โดยใช้สถิติ Chi-square test
ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย ปริมาณ PM10 ในอากาศบริเวณช่องจำหน่ายตั๋วเท่ากับ 90.1±15.5 μg/m3
ค่าเฉลี่ยปริมาณแบคทีเรียเท่ากับ 212.3±129.3 cfu/m3 ปริมาณเชื้อราเท่ากับ 54.5±4.5 cfu/m3 และปริมาณความเข้มข้น
ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 745.4±236.1 ppm และ 19.7±1.9 ppm
ตามลำดับ กลุ่มอาการอาคารป่วยในพนักงานที่พบ คือ อาการปวดศีรษะ (ร้อยละ 87.7) อาการคัดจมูก (ร้อยละ 81.7)
อาการระคายเคืองตา (ร้อยละ 72.6) อาการคล้ายโรคหอบหืด (ร้อยละ 69.4) และอาการระคายเคืองผิวหนัง (ร้อยละ
60.3) และเมื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศกับกลุ่มอาการพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p < 0.05) คือ อาการระคายเคืองตามีความสัมพันธ์กับปริมาณของฝุ่น PM10 (p = 0.047) อาการปวดศีรษะ
มีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่ตรวจพบ (p = 0.037) และ (p < 0.001) ตามลำดับ
The aim of the study was to evaluate the relation between indoor air quality and Sick Building Syndrome of
boxes was 90.1±15.5 µg/m3 cfu/m3 ticket sales staff by gathering up 34 samples of air to examine the quantity of particulate matter less than 10 microns,
136 samples of bacteria and fungus and 68 samples of the intensive of carbon dioxide and carbon monoxide
in the area of ticket sales boxes. The questionnaire related to sick building syndrome was used to survey 219
participations of ticket sales staff working in the terminals and analyzed, using descriptive statistics and
chi-square test. The result of the study demonstrated that the average of particulate matter in the area of ticket sales
, the average of bacteria and fungus quantities were 212.3±129.3 cfu/m3 and 54.5±4.5
, the average of the intensive of carbon dioxide and carbon monoxide were 745.4±236.1 ppm and 19.7±1.9
ppm. The headache (87.7%), nasal manifestation (81.7%), eye irritation (72.6%), throat and lower respiratory
tract symptoms (69.4%) and skin problem (60.3%) were found in Sick Building Syndrome of ticket sale staff.
To value the relation of air quality and symptoms, it was found that there was a relation with significant statistics
(p<0.05) including eye irritation relating to particulate matter (p=0.047), headache related to the intensive of
carbon dioxide and carbon monoxide examined (p=0.037) and (p<0.001) sequentially. |
---|