ความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองอายุ และความสามารถในการมองเห็นในการทำนายพฤติกรรมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง อายุ และความสามารถในการมองเห็น ในการทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 95 คน ที่...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ชลธิรา เรียงคํา, Chontira Riangkam, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, Doungrut Wattanakitkrileart, อัครเดช เกตุฉ่ำ, Akadet Ketcham, อภิรดี ศรีวิจิตรกมล, Apiradee Sriwijitkamol
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25247
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง อายุ และความสามารถในการมองเห็น ในการทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 95 คน ที่เข้ารับการรักษาในแผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีการรับรู้ดี สามารถสื่อสาร อ่านภาษาไทย และคำนวณได้มีผลค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) ครั้งล่าสุดไม่เกิน 6 เดือน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง และพฤติกรรมในการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 58.34 (SD = 11.38) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสามารถในการมองเห็นอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 86.1 มีค่าเฉลี่ยคะแนนของความแตกฉานทางสุขภาพขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับสูง (X = 13.23, SD = 4.21) ส่วนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (X = 63.62, SD = 9.95 และ X = 67.88, SD = 12.72 ตามลำดับ) มีเพียงระดับความแตกฉานทางสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมในการดูแลตนเอง (r = .68, p < .05 และ r = .42, p < .05 ตามลำดับ) และทั้งสองปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .55, F(4, 90) = 27.37, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ทีมบุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญในการพัฒนาระดับความแตกฉานทางสุขภาพ และสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแล และบรรลุเป้าหมายการควบคุมโรคเบาหวานต่อไป