ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการใช้ยาฉีดอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านภาวะซึมเศร้า สถานภาพทางการเงิน ทัศนคติต่อการใช้ยาอินซูลิน และสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางสุขภาพ ในการร่วมกันทำนายความร่วมมือในการใช้ยาฉีดอินซูลีนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์อำนาจทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย:...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุปริญญา พรมมาลุน, Suparinya Prommaloon, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, Doungrut Wattanakitkrileart, วิชชุดา เจริญกิจการ, Vishuda Charoenkitkarn, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์, Thavatchai Peerapatdit
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25260
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านภาวะซึมเศร้า สถานภาพทางการเงิน ทัศนคติต่อการใช้ยาอินซูลิน และสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางสุขภาพ ในการร่วมกันทำนายความร่วมมือในการใช้ยาฉีดอินซูลีนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์อำนาจทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 120 ราย ที่มาตรวจรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการรักษาโดยใช้ยาอินซูลิน แบบประเมินความไว้วางใจในบุคลากรทางสุขภาพ และแบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยาฉีดอินซูลิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากที่สุด ร้อยละ 54.2 อายุเฉลี่ย 61.16 ปี (SD = 8.79, Max = 81, Min = 37) มีความร่วมมือในการใช้ยาฉีดอินซูลิน ร้อยละ 35.8 ภาวะซึมเศร้า สถานภาพทางการเงิน ทัศนคติต่อการใช้ยาอินซูลิน และสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางสุขภาพสามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการใช้ยาฉีดอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 19.5 (Nagelkerke R2 = .195) โดยภาวะซึมเศร้าและทัศนคติต่อการใช้ยาอินซูลินสามารถทำนายความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = .91, p < .05 และ OR = .94, p < .05 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรประเมินภาวะซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า และให้การพยาบาล และทีมสหสาขาวิชาชีพควรมีการจัดการกับทัศนคติด้านลบต่อการรักษาด้วยอินซูลิน โดยอธิบายให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการโรคเบาหวานและประโยชน์จากการรักษาตัวด้วยอินซูลินเพื่อให้เกิดทัศนะคติที่ดีต่อการรักษาด้วยยาอินซูลิน