คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบ

วัตถุประสงค์: คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องระหว่างผู้หญิงที่ได้รับการบำบัดการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และผู้หญิงที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง รูปแบบการวิจัย: การวิเคราะห์ทุติยภูมิ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือด 100 คน และได้รับการล้างไตทางช...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อรวมน ศรียุกตศุทธ, Aurawamon Sriyuktasuth, นพพร ว่องสิริมาศ, Nopporn Vongsirimas, ณัฏยา ประหา, Nattaya Praha, ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์, Prapatsinee Prapaiwong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25261
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องระหว่างผู้หญิงที่ได้รับการบำบัดการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และผู้หญิงที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง รูปแบบการวิจัย: การวิเคราะห์ทุติยภูมิ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือด 100 คน และได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง 100 คน อายุ 18 ปี ขึ้นไป ล้างไตมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ข้อมูลปฐมภูมิเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการทำหน้าที่ทางเพศ แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสและแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงกลุ่มฟอกเลือดมีการทำหน้าที่ทางเพศและความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสดีกว่ากลุ่มล้างไตทางช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะซึมเศร้าของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนคุณภาพชีวิตกับวิถีการล้างไตโดยใช้สถิติถดถอยพหุคุณ พบว่า ผู้หญิงกลุ่มฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีคุณภาพชีวิตดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งโดยรวมและรายด้าน (p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้หญิงที่ได้รับการล้างไตโดยเฉพาะการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องมีความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ควรได้รับการดูแลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถปรับตัวอยู่กับภาวะโรคเรื่้อรัง และการรักษาที่ยาวนานได้ต่อไป