ประสบการณ์การพบอาการหอบของเด็กและกลวิธีในการจัดการอาการของผู้ดูแลเด็กโรคหืดที่มีความรุนแรงของอาการหอบแตกต่างกัน

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสบการณ์การพบอาการหอบของเด็ก และกลวิธีในการจัดการอาการในกลุ่มผู้ดูแลเด็กโรคหืดที่มีความรุนแรงของอาการหอบแตกต่างกัน รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลและเด็กโรคหืดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลด้วยอาการหอบ จำนว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กัลยา ประจงดี, Kanlaya Prajongdee, อาภาวรรณ หนูคง, Apawan Nookong, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, Sudaporn Payakkaraung
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25266
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสบการณ์การพบอาการหอบของเด็ก และกลวิธีในการจัดการอาการในกลุ่มผู้ดูแลเด็กโรคหืดที่มีความรุนแรงของอาการหอบแตกต่างกัน รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลและเด็กโรคหืดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลด้วยอาการหอบ จำนวน 74 คู่ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับความรุนแรงแรงของอาการหอบด้วยเครื่องมือ Siriraj Clinical Asthma Score เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้อาการหอบ แบบสอบถามการประเมินความรุนแรงของอาการหอบโดยผู้ดูแล และแบบสอบถามกลวิธีในการจัดการอาการหอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และสถิติ Bonferroni ผลการวิจัย: การรับรู้อาการหอบและการประเมินความรุนแรงของอาการหอบโดยผู้ดูแลทั้ง 3 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผู้ดูแลในกลุ่มเด็กที่มีความรุนแรงของอาการหอบระดับน้อย รับรู้อาการหอบแตกต่างจากผู้ดูแลในกลุ่มเด็กที่มีความรุนแรงของอาการหอบระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และผู้ดูแลในกลุ่มเด็กที่มีความรุนแรงของอาการหอบระดับน้อย ประเมินความรุนแรงของอาการหอบแตกต่างกับผู้ดูแลในกลุ่มเด็กที่มีความรุนแรงของอาการหอบระดับปานกลาง และระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนกลวิธีในการจัดการกับอาการหอบของผู้ดูแลทั้ง 3 กลุ่มไม่แตกต่างกัน (p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรจัดโปรแกรมส่งเสริมให้ผู้ดูแลทราบถึงอาการแสดงของอาการหอบ สามารถประเมินความรุนแรงของอาการหอบ และจัดการอาการหอบเพื่อลดระดับความรุนแรงของอาการหอบของเด็ก