อิทธิพลของความรู้ ทัศนคติ การสื่อสารเรื่องเพศ การใช้สารเสพติดและสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศต่อการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาอำนาจการทำนายของความรู้ ทัศนคติ การสื่อสารเรื่องเพศ การใช้สารเสพติด และสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศต่อการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รูปแบบการวิจัย: ความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดพะเ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2018
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25268 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาอำนาจการทำนายของความรู้ ทัศนคติ การสื่อสารเรื่องเพศ การใช้สารเสพติด และสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศต่อการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
รูปแบบการวิจัย: ความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดพะเยา จำนวน 150 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา แบบสอบถามทัศนคติต่อการเพศสัมพันธ์แบบวัดการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว แบบสอบถามการใช้สารเสพติด แบบสอบถามเรื่องสื่ออื่น
กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และแบบสอบถามการมีเพศสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 5.3 ยอมรับว่ามีเพศสัมพันธ์ การสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัวและการใช้
สารเสพติดสามารถร่วมกันทำนายการมีเพศสัมพันธ์ได้ร้อยละ 39 (R2 = .39, p < .05) ทั้งนี้การสื่อสารเรื่องเพศ
ในครอบครัว (OR = .74, 95%CI = .59 - .92) และการใช้สารเสพติด (ดื่มสุรา) (OR = 6.26, 95%CI = 1.09-35.98) สามารถทำนายการมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุป และข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรส่งเสริมให้มีการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัวโดยเฉพาะการสื่อสารระหว่างมารดากับนักเรียนหญิงเนื่องจากเป็นเพศเดียวกันจึงมีความเข้าใจกันมากกว่า เพศตรงข้าม นอกจากนี้พยาบาลควรให้
ความรู้เกี่ยวกับผลเสียของการดื่มสุราต่อการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนหญิง |
---|