เปรียบเทียบผลการประเมินภาระงานที่สัมผัสความร้อนระหว่าง วิธีการประเมินด้วยตารางการใช้พลังงานและวิธีการคำนวณการใช้ออกซิเจน
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการทดสอบความถูกต้องของการประเมินภาระงานของพนักงานโดยผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้วยการใช้ ตารางการใช้พลังงาน ของสถาบันสุขภาพและความปลอดภัยแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา มาเปรียบเทียบกับระดับภาระงานที่ได้จากการวัดปริมาณการใช้ออกซิเจนของพนักงานในขณะที่ทำงา...
Saved in:
Main Authors: | , , , , |
---|---|
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2011
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2534 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการทดสอบความถูกต้องของการประเมินภาระงานของพนักงานโดยผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้วยการใช้ ตารางการใช้พลังงาน ของสถาบันสุขภาพและความปลอดภัยแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา มาเปรียบเทียบกับระดับภาระงานที่ได้จากการวัดปริมาณการใช้ออกซิเจนของพนักงานในขณะที่ทำงานที่ภาระงานระดับต่างๆ โดยใช้เครื่องวัดปริมาณการใช้ออกซิเจน Cortex model ; Metamax XR 3B ที่ติดไว้กับพนักงานในสถานประกอบการที่มีความร้อนสูงคืแรงหล่อหลอมโลหะจำนวน 8 คน พร้อมบันทึกวีดีทัศน์การทำงานของพนักงานทั้ง 8 คน เมื่อประเมินภาระงานจากการใช้ปริมาณออกซิเจนแล้วพบว่าพนักงาน 8 คนนี้มีภาระงานหนัก 2 คน (มากกว่า 350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง) งานปานกลาง 3 คน (200 - 350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง) งานเบา 3 คน (น้อยกว่า 200 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง) ต่อจากนนั้นนำวีดีทัศน์ของพนักงานทั้ง 8 คน ให้นักอาชีวอนามัยจำนวน 119 คน ประเมินภาระงานของพนักงานด้วยตารางการใช้พลังงาน แล้วนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับภาระงานที่ประเมินจากการวัดออกซิเจนนั้น พบว่านัก อาชีวอนามัยประเมินได้ถูกต้องอยู่ในช่วงร้อยละ 13.4 - 71.4 ของภาระงานทั้งหมด คิดเป็นจำนวนสถานการณ์ที่ประเมินได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.44 สถานการณ์จาก 8 สถานการณ์ คิดเป็นร้อยละ 43 ผลการทดสอบสมมุติฐานของปัจจัยด้านระดับการศึกษาและด้านประสบการณ์ในงานอาชีวอนามัยของผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยพบว่าไม่แตกต่างกัน ดังนั้นในการประเมินภาระงานของพนักงานควรกำหนดวิธีการประเมินที่ชัดเจน เพื่อที่จะได้ค่าที่ถูกต้องในการบังคับใช้กฎหมายซึ่งจะเป็นความยุติธรรมทั้งของลูกจ้างและนายจ้าง ในการประเมินภาระงานอาจใช้วิธีการคำนวณปริมาณการใช้ออกซิเจนของพนักงานที่มีความถูกต้องมากกว่า |
---|