การรับรู้นโยบายและการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อมาตรฐานจากการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่ง
โรงพยาบาลเป็นสถานที่ให้บริการผู้ป่วยทุกประเภท และแหล่งของเชื้อโรคหลายชนิดที่สามารถแพร่ กระจายไปสู่คนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอาจมีความเสี่ยงต่อการ ติดเชื้อจากการทำงาน การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้นโยบาย และการ ปฏิบัติตามหลักการป้องกันการต...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2577 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | โรงพยาบาลเป็นสถานที่ให้บริการผู้ป่วยทุกประเภท และแหล่งของเชื้อโรคหลายชนิดที่สามารถแพร่
กระจายไปสู่คนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอาจมีความเสี่ยงต่อการ
ติดเชื้อจากการทำงาน การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้นโยบาย และการ
ปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อมาตรฐานและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อมาตรฐานของบุคลากรที่ให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลประจำจังหวัด
แห่งหนึ่ง จำนวน 214 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะประชากรสังคม ประวัติสุขภาพ
ส่วนบุคคล การรับรู้นโยบาย และการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา x2 –test และ Pearson’s correlation coefficient ที่ระดับ α = 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 87.9 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.4 เป็นพยาบาล ร้อยละ 27.1 เป็นผู้ช่วยพยาบาลและ
ผู้ช่วยเหลือคนไข้ กว่าร้อยละ 30.4 มีโรคประจำตัว คะแนนเฉลี่ยการรับรู้นโยบายป้องกันการติดเชื้อเท่ากับ
8.7±2.4 (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) จัดอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามหลักหลักการป้องกันการ
ติดเชื้อมาตรฐานเท่ากับ 19.7±7.9 (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) จัดอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อมาตรฐานระดับสูง พบว่า แผนกที่ปฏิบัติงาน และ
ระดับคะแนนการรับรู้นโยบายการป้องกันการติดเชื้อ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการ
ติดเชื้อมาตรฐานในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, p<0.001 และ p = 0.001 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์
สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการรับรู้นโยบายกับคะแนนการปฏิบัติตามหลักหลักการป้องกันการติดเชื้อมาตรฐานพบว่าความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, r = 0.51, p<0.001
Hospital are places that provide patients
a source of several pathogens that can be
spread from persons and environments.
Personnel working in hospitals are at risk of
occupational infections. A cross-sectional
study was carried out to assess the infection
prevention policy perception and standard
precaution practices and to analyze the
associations between studied factors and
standard precaution practices among hospital
personnel. The study of 214 personnel who
provided medical services in a provincial
hospital was conducted using a structured
questionnaire including socio-demographic
and occupational variables, personal health
histories, infection prevention policy perception
and standard precaution practices. Descriptive
statistics, χ2-test and Pearson’s correlation
coeffi cient were used for data analysis at
α = 0.05. Results revealed that 87.9%
of studied personnel were female, 51.4%
were nurses and 27.1% were nurse aids
Approximately 30.4% had a history of under-
lying diseases. The mean score of perception
on infection prevention policy was 8.7±2.4
(total score = 10), classifi ed as high score
level of perception. The mean score of
standard precaution practices was 19.7±7.9
(total score = 30), classifi ed in moderate
score level of practice score. When we
analyzed studied factors associated with the
high score level of standard precaution prac-
tices, working departments and perception
score level on the infection prevention poli-
cy were signifi cantly associated, p<0.001 and
p = 0.001, respectively. Additionally, scores of
perception on the infection prevention policy
and scores of standard precaution practices
were analyzed using Pearson’s correlation
coeffi cient, showing a signifi cantly positive
correlation, r = 0.51, p<0.001. |
---|