เสียงจากแรงงานข้ามชาติต่อบริการสุขภาพและการอยู่ร่วมกับคนไทย

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาทรรศนะของแรงงานข้ามชาติที่มีต่อบริการสุขภาพและการอยู่ร่วมกันกับคนไทย ในการศึกษาใช้วิธีการจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติพม่าและกัมพูชา รวมทั้งกลุ่มแรงงานชาติพันธุ์ไทยใหญ่และลาหู่ โดยจัดสนทนากลุ่มรวมทั้งสิ้น 12 กลุ่ม ใน 6 จังหวัด คือ เชีย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วาทินี บุญชะลักษี, อภิชาติ จํารัสฤทธิรงค์
Other Authors: บุญเลิศ เลียวประไพ
Format: Article
Language:Thai
Published: 2014
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2879
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาทรรศนะของแรงงานข้ามชาติที่มีต่อบริการสุขภาพและการอยู่ร่วมกันกับคนไทย ในการศึกษาใช้วิธีการจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติพม่าและกัมพูชา รวมทั้งกลุ่มแรงงานชาติพันธุ์ไทยใหญ่และลาหู่ โดยจัดสนทนากลุ่มรวมทั้งสิ้น 12 กลุ่ม ใน 6 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ตาก สมุทรสาคร ระยอง ตราด และระนอง โดยแยกการจัดสนทนากลุ่มชายและหญิง มีเพียงที่จังหวัดเชียงใหม่จังหวัดเดียวที่มีการสนทนากลุ่มรวมกันระหว่างชายและหญิงในกลุ่มไทยใหญ่และลาหู่ ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มแรงงานข้ามชาติรู้จักแหล่งบริการสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นสถานีอนามัย โรงพยาบาล หรืออาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) รวมทั้งความช่วยเหลือที่ได้รับจากศูนย์บริการแรงงานขามชาติ (drop-in centers) หรือจากองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ รวมทั้งทราบว่าสถานที่ดังกล่าวมีบริการสุขภาพด้านใดบ้าง หากแรงงานข้ามชาติมีความเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงนัก เช่น ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ มักจะซื้อยาจากร้านขายยามารับประทานเอง ในกรณีที่ไม่สบายมากถึงจะไปรับบริการรักษาที่โรงพยาบาล แต่ในบางพื้นที่แรงงานข้ามชาตินิยมที่จะไปรักษาที่คลินิกมากกว่าที่โรงพยาบาล ทั้งนี้เนื่องจากต้องเสียค่ารักษาตามราคาจริง เพราะไม่มีบัตรแรงงานต่างด้าว และยังมีปัญหาในเรื่องการสื่อภาษาโดยภาพรวมแรงงานมีความพอใจกับบริการทั้งจากภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตามสำหรับทรรศนะต่อการอยู่ร่วมกับคนไทย ประเด็นสำคัญที่การศึกษาครั้งนี้ได้ค้นพบคือ แรงงานข้ามชาติในแทบทุกพื้นที่เห็นว่าตนไม่ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับคนไทยในชุมชนเดียวกัน เสียงสะท้อนจากแรงงานข้ามชาติ คือ คนไทยรังเกียจและดูถูกแรงงานข้ามชาติ และไม่พยายามเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง ทำให้หลีกเลี่ยงไม่พ้นการทะเลาะกัน