การสำรวจสถานการณ์การปนเปื้อนของกรดไขมันชนิดทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศไทย

กรดไขมันชนิทรานส์ (Trans fatty acids, TFA) เป็นกรดไขมันที่พบได้ตามธรรมชาติ และเกิดขึ้นจากไขมันอื่นๆ ที่ผ่านกระบวนการ Hydrogenation กรดไขมันชนิดนี้กำลังได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากมีรายงานการศึกษาพบว่า การบริโภคอาหารทีมีกรดไขมันชนิดทรานส์มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณ LDL-Cholesterol...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วิสิฐ จะวะสิต, สมเกียรติ โกศัลวัฒน์, ธีรชัย ว่องเมทินี, ศศิอำไพ พฤฒิพรธานี, ดารณี หมู่ขจรพันธ์, ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ, วิภา พงษ์สวัสดิ์
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยโภชนาการ
Format: Research Report
Language:Thai
Published: 2012
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/30018
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:กรดไขมันชนิทรานส์ (Trans fatty acids, TFA) เป็นกรดไขมันที่พบได้ตามธรรมชาติ และเกิดขึ้นจากไขมันอื่นๆ ที่ผ่านกระบวนการ Hydrogenation กรดไขมันชนิดนี้กำลังได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากมีรายงานการศึกษาพบว่า การบริโภคอาหารทีมีกรดไขมันชนิดทรานส์มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณ LDL-Cholesterol ในเลือด เช่นเดียวกันกับการบริโภคกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) นอกจากนั้นการบริโภคกรดไขมันชนิดทรานส์ยังมีผลต่อการลดลงของปริมาณ HDL-Cholesterol ในเลือดอีกด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของประชากรโลก ทั้งนี้ในต่างประเทศซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพของผู้บริโภคได้แนะนำให้ลดหรืองดใช้กรดไขมันทรานส์ เพื่อให้อาหารที่มีไขมันชนิดดังกล่าวในปริมาณที่ต่ำลง ในประเทศไทยพบว่า มีประชากรที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในจำนวนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันชนิดทรานส์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณกรดไขมันประเภทนี้ในผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศไทย และยังไม่ได้มีการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารต้องระบุถึงปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการ ดังนั้นจึงควรมีการสำรวจสถานการณ์การปนเปื้อนของกรดไขมันชนิดทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศไทย เพื่อใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นแนวทางในการแนะนำการบริโภคสำหรับประชากรทั่วไป อีกทั้งอาจนำไปใช้ประกอบการพิจารณาความเหมะสมในการระบุปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์บนฉลากโภชนาการของประเทศไทยต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้มีข้อกำหนดและคำแนะนำการบริโภคกรดไขมันชนิดทรานส์ (TFA) ที่หลากหลายแต่ก็อยู่ในทิศทางเดียวกัน โดยเน้นให้ในปริมาณที่ต่ำที่สุด และกำหนดว่าต้องแจ้งให้ผู้บริโภคได้ทราบ ในการศึกษานี้ได้มีการกำหนดเกณฑ์สำหรับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยใช้กรดไขมันชนิดทรานส์ (TFA) และกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) เป็นตัวชี้วัด โยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้ (1) กลุ่มเสี่ยงสูง ได้แก่ กลุ่มอาหารที่ประกอบด้วย TFA > 0.7 g/serving และ SFA+TFA 4 g/serving (2) กลุ่มเสี่ยงสูง ได้แก่ กลุ่มอาหารที่ประกอบด้วย TFA > 0.7 g/serving หรือ SFA+TFA 4 g/serving (3) กลุ่มเสี่ยงต่ำ ได้แก่ กลุ่มอาหารที่ประกอบด้วย TFA < 0.7 g/serving และ SFA+TFA g/serving ผลการสำรวจโดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า อาหารในกลุ่มโดนัท ทอดทั้งที่จำหน่ายตามรถเข็น ร้านค้าข้างถนน จนถึงยี่ห้อที่มีชื่อเสียงเป็นปัญหามากที่สุด เนื่องจากถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ยังพบกรดไขมันชนิดทรานส์ในอาหารกลุ่มอื่น เช่น มาร์การีนเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงแสดงว่าปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์ในอาหารกลุ่มอื่นมิได้สูงจนเป็นปัยหาแต่กลับเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีปริมาณสูงเกินไป ปัญหาในเราเรื่องความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบในอาหารในประเทศไทยส่วนใหญ่จึงมาจากกรดไขมันอิ่มตัวเป็นหลัก โดยกรดไขมันชนิดทรานส์มีส่วนไม่มากนัก ทั้งนี้การปริโภคไขมันในปริมาณสูงน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญกว่า เพราะจะทำให้ได้รับกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดในปริมาณสูงจนถึงระดับที่เกิดความเสี่ยงได้ ดังนั้นในสถานการณ์ปัจจุบันจึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแนะนำในเรื่องการหลีกเลี่ยงกรดไขมันชนิดทรานส์เพราะอาจจะต้องใช้เวลาในการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคอีก แต่ควรแนะนำให้จำกัดการบริโภคไขมันและไขมันอิ่มตัวจะเหมาะสมกว่านอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ผลิตก็มีความพยายามในการลดปริมาณกรดไขมันชนิทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหารด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสความต้องการของผู้บริโภครวมถึงกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งนิยมใช้ไขมันอิ่มตัวตามธรรมชาติเข้ามาทดแทน เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารที่พบว่าเป็นปัญหาของกรดไขมันชนิดทรานส์ในประเทสไทย มักเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปรุงจำหน่ายทั่วไปซึ่งไม่มีฉลากโภชนาการ การจะกำหนดให้มีปริมาณกรดไขมันชนิด ทรานส์บนฉลากโภชนาการของไทยจึงอาจยังไม่มีความจำเป็น หากแต่มาตรการเร่งด่วนที่ควรดำเนินงานจึงเป็นการควบคุมวัตถุดิบที่เป็นแหล่งของกรดไขมันชนิดทรานส์ ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ