การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาและอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาและอาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา และอาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 302 คน และได้รับแบบสอบถาม...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2017
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/3210 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาและอาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา และอาจารย์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 302 คน และได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน
286 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.70 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความ
แปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากที่สุด ใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อประกอบการเรียน/การสอน (ร้อยละ 87.41) ใช้ที่ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์
(ร้อยละ 80.77) 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ (ร้อยละ 40.56) เข้าถึงโดยผ่านหน้าเว็บไซต์ของหอสมุด
และคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ร้อยละ 67.83) ฐานข้อมูลที่มีการใช้มากที่สุดคือ
ฐานข้อมูล PubMed (ร้อยละ 92.31) เรียนรู้การใช้ฐานข้อมูลจากที่อาจารย์แนะนำ/จาก
การศึกษาตามรายวิชาในหลักสูตร (ร้อยละ 71.33) เริ่มต้นสืบค้นด้วยวิธีการสืบค้นอย่าง
ง่าย (Basic search) (ร้อยละ 70.28) โดยเลือกใช้คำสำคัญ (Keyword) (ร้อยละ 81.47) ประกอบการใช้เทคนิคขั้นสูงคือ คำเชื่อมบูลีน AND, OR, NOT เชื่อมระหว่างคำค้น (ร้อยละ
61.54) รูปแบบผลการสืบค้นที่ได้รับคือ เอกสารฉบับเต็มแบบ PDF (ร้อยละ 88.81)
โดยนิยมอ่านผลการสืบค้นจากหน้าจอ (ร้อยละ 78.67) บริการอื่นๆที่มีในฐานข้อมูลจะใช้
บริการลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับฐานข้อมูลเพื่อใช้จัดเก็บผลการสืบค้นของตนเอง (ร้อยละ
37.41) สำหรับปัญหาในการใช้ฐานข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
ให้บริการฐานข้อมูลในห้องสมุดมีจำนวนน้อย (x =3.58, SD=1.245) เป็นปัญหาในระดับ
มาก รองลงมาคือ ไม่สามารถติดตามเอกสารฉบับเต็มจากรายการที่สืบค้นได้ (x=3.47,
SD=1.162) เป็นปัญหาในระดับปานกลาง |
---|