การส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการผ่านกิจกรรม KAFE 4 ART : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาลักษณะการรับรู้และการมีเข้าร่วมกิจกรรม KAFE 4 ART ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและมุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของบุคลากรสายวิชาการและกิจกรรมการส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ผ่านกิจกรรม KAFE 4 ART ตัวอย่างที่ใช้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เอื้อมเดือน แก้วสว่าง, Auemduen Kaewsawang, ภคพร พุทธโกษา, Phakaporn Phuttakosa
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/3324
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาลักษณะการรับรู้และการมีเข้าร่วมกิจกรรม KAFE 4 ART ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและมุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของบุคลากรสายวิชาการและกิจกรรมการส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ผ่านกิจกรรม KAFE 4 ART ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคร้ังนี้เน้นศึกษาเฉพาะบุคลากรสายอาจารย์ นักวิจัย และนักวิจัยโครงการของสถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและดำเนินการทดสอบไคสแควร์ (ChiSquare Test) จากตัวอย่าง 58 คน ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ และมีการรับรู้หรือได้ยิน เกี่ยวกับกิจกรรม KAFE 4 ART เป็นอย่างมาก รวมทั้งมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 1-4 ครั้ง และมีความพึงพอใจกับกิจกรรมนี้ระดับมาก นอกจากนี้ พบว่า สถานะการทำงานมีความสัมพันธ์ต่อการเขียนผลงาน ทางวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ โดยกิจกรรม KAFE 4 ART เป็นกิจกรรมเสริมแรงทางบวก ที่มุ่งเน้นสนับสนุนกระบวนการผลิตผลงานวิชาการ ผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความรู้ระหว่างนักวิชาการร่วมกัน ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงรูปแบบความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในเรื่องระยะเวลาในการดำเนินงานของกิจกรรม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางท่านได้สะท้อนในเรื่องการบริหารจัดการเวลาที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เนื่องจากมีภาระงานที่หนักอยู่และระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม KAFE 4 ART ยังน้อยเกินกว่าที่จะสะท้อนภาพความสำเร็จของกิจกรรมได้เนื่องจากการเขียนผลงานทางวิชาการต้องใช้ระยะเวลาในการกลั่นกรองการเขียนและวิเคราะห์ รวมทั้งรอการตอบรับผลงานตีพิมพ์จากวารสารวิชาการอีกด้วย