กระบวนการถ่ายทอดนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐสู่การนำไปปฏิบัติของผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ

โครงการประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดและแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย สุขภาพของภาครัฐไปสู่ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาสูบ ศึกษาการตรวจแนะนำและการบังคับ ใช้ข้อกฎหมายของภาครัฐไปสู่ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ รวมทั้งศึกษาปัญหา อุปสรรคของ กระบวนการถ่ายทอดและบัง...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์, จิระวัฒน์ อยู่สะบาย, รัตนาพร ฉัตรมงคล, ปวีณ์ธิดา เหลื่อมเจริญ, อิศรา หมีพลัด, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, Pantip Chotbenjamaporn, Chirawat Yoosabai, Rattanaporn Chatmongkol, Paveethida Luamcharoen, Isara Meeplad, Chardsumon Prutipinyo
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36898
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:โครงการประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดและแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย สุขภาพของภาครัฐไปสู่ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาสูบ ศึกษาการตรวจแนะนำและการบังคับ ใช้ข้อกฎหมายของภาครัฐไปสู่ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ รวมทั้งศึกษาปัญหา อุปสรรคของ กระบวนการถ่ายทอดและบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ภาครัฐไปสู่ผู้ปฏิบัติ วิธีการศึกษาคือการจัดโครงการ จัดสัมมนาเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 สำหรับ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบ ลงพื้นที่ เพื่อตรวจแนะนำและการแจ้งข่าวสารกฎหมาย ของเจ้าหน้าที่รัฐไปสู่ผู้ปฏิบัติรวมทั้งสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดและบังคับใช้กฎหมายถึง ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากกระบวนการถ่ายทอดและบังคับใช้กฎหมายในกลุ่มงานพัฒนาและบังคับใช้ กฎหมายของสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที (Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการประเมิน พบว่า ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบส่วนใหญ่มีความรู้และ ความเข้าใจในสาระสำคัญของกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 อยู่ในระดับดี ความเข้าใจเจตนารมณ์และสาระสำคัญของข้อบทกฎหมาย ความสามารถในการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติงาน ความสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ถ่ายทอดแก่ผู้เกี่ยวข้อง และความมั่นใจและความสามารถ นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้คะแนนอยู่ในระดับดี ร้านค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อที่จำหน่ายบุหรี่ให้ความร่วมมือ ในการปฏิบัติตามกฎหมายดี ปัญหา อุปสรรคในจากกระบวนการถ่ายทอดและบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ ภาครัฐไปสู่ผู้ปฏิบัติ คือ ยังขาดแคลนบุคคลากรในระดับท้องถิ่น รวมทั้งองค์กรและบุคลากรที่ทำงานควบคุม ยาสูบอย่างจริงจัง