กฎหมายกับการควบคุมมลภาวะทางอากาศ
ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสภาพแวดล้อมอยู่หลายฉบับ สำหรับ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ซึ่งถือเป็นกฎหมายกลางในการรักษาสภาพแวดล้อม ปัญหาของกฎหมายควบคุมมลพิษทางอากาศเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น 1. กฎหมายยังขาด มาตรการจูงใจ ในการควบคุมกระบวนการผลิต 2. การลงโทษให้ประ...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2018
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36901 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสภาพแวดล้อมอยู่หลายฉบับ สำหรับ พ.ร.บ.
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ซึ่งถือเป็นกฎหมายกลางในการรักษาสภาพแวดล้อม
ปัญหาของกฎหมายควบคุมมลพิษทางอากาศเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น 1. กฎหมายยังขาด
มาตรการจูงใจ ในการควบคุมกระบวนการผลิต 2. การลงโทษให้ประจักษ์ชัดตามความรุนแรงของการ
กระทำ 3. การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึง 4. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ อาทิ เช่น
ปรากฏการณ์เรือนกระจกที่เกิดขึ้นเพราะโลกจะได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านบรรยากาศลงมา
อยู่อย่างสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเกษตรกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรม มีผลทำให้
โลกร้อนขึ้นด้วยสาเหตุที่ทำให้ปริมาณก๊าซชนิดต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วเพิ่มขึ้น ส่วนปัญหาการควบคุม
มลภาวะทางอากาศระหว่างประเทศ สำหรับกรณีมลพิษหมอกควันข้ามแดนจะต้องประสานเพื่อ
ดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคีตามข้อกำหนดในข้อตกลงอาเซียน เรื่องมลพิษ
จากหมอกควันข้ามแดนในพื้นที่อนุภูมิภาคแม่น้ำโขง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องดำเนินการอนุวัติ
การกฎหมายให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ และพิธีสารฯ ใน 3 มาตรการ คือ มาตรการทางกฎหมายในการ
ป้องกัน ในการควบคุมและจัดการแก้ปัญหา และ ในการฟื้นฟูแก้ไขปัญหา โดยมาตรการทางกฎหมายใน
การป้องกันถือเป็นพันธกรณีที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น
การให้สิทธิหน้าที่แก่ประชาชนในการจัดการทรัพยากรฯ และการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันหมอกควัน
ไฟป่า |
---|