ความคิดเห็นต่อการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการทางสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิตในผู้สูงอายุ จ.ลำปาง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการ แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการทางสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิตในผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ ต.ใหม่พัฒนา อ.เกาะค...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2018
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36906 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการ
แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการทางสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิตในผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ
ต.ใหม่พัฒนา อ.เกาะคา จ.ลำปาง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 110 ราย โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ
บังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-69 ปี สำเร็จ
การศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 41.8 มีภาวะสุขภาพในระดับดีปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับ
การตายดีในระดับปานกลาง มีความรู้เกี่ยวกับการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการทางสาธารณสุข
ในวาระสุดท้ายของชีวิต ในระดับต้องปรับปรุง มีการสนับสนุนทางสังคม ในระดับปานกลาง ผู้สูงอายุ
ส่วนใหญ่สนใจทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการทางสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต
ร้อยละ 62.7 วิธีการรักษาพยาบาลที่ผู้สูงอายุต้องการปฏิเสธมากที่สุดคือ การใส่ท่อช่วยหายใจ/การ
เจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการเป็นภาระของญาติและถึงวาระแล้วที่ต้องจากไป ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการทาง
สาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ ความรู้ และทัศนคติ
จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและญาติ มีความเข้าใจใน
เรื่องการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการทางสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต และ
ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิที่ผู้สูงอายุควรทราบให้มากขึ้น โดยการจัดทำเอกสาร แผ่นพับ คู่มือ
หรือมีการจัดทีมตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุควบคู่กับการส่งเสริมสุขภาพด้านอื่นๆ |
---|