การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของ ค่ารักษาพยาบาลตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
การศึกษาการสรุปคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัด ที่มีผลต่อ การปรับค่านํ้าหนักสัมพัทธ์ (Adjust Relative Weight : AdjRW) และมีผล กระทบต่อค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณของเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการ สรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่า...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/43799 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาการสรุปคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัด ที่มีผลต่อ
การปรับค่านํ้าหนักสัมพัทธ์ (Adjust Relative Weight : AdjRW) และมีผล
กระทบต่อค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปริมาณของเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการ
สรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน เพื่อเปรียบเทียบความ
แตกต่างของกลุ่มการวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group, DRGs)
ที่มีผลต่อ AdjRW นำมาเปรียบเทียบ AdjRW และค่ารักษาพยาบาลที่ได้ก่อน
และหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในและเพื่อเปรียบเทียบ AdjRW และค่ารักษาพยาบาล
ที่ได้ก่อนและหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค
หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในได้รับจัดสรรตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม
(DRGs) โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่จำหน่ายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556
ถึงเดือนเมษายน 2557
ผลการศึกษาการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในจำนวน 1,107 ฉบับ
พบว่ามีเวชระเบียนผู้ป่วยในที่มีความคลาดเคลื่อนในการสรุปคำวินิจฉัยโรค
หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน จำนวน 322 ฉบับ และหลังจากที่ Auditor
ทบทวนและแก้ไข เพิ่มเติมคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัด ให้ถูกต้อง
ครบถ้วนแล้ว พบว่ามีความแตกต่างของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่มี
ผลต่อค่า AdjRW จำนวน 216 ฉบับ โดยทำให้ค่า AdjRW เพิ่มขึ้น 182.84 ซึ่ง
มีผลทำให้ โรงพยาบาลได้รับค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
2,420,928.35 บาท
ในการศึกษาครั้งนี้มีประเด็นที่เพิ่มเติมพบว่าความคลาดเคลื่อนในส่วน
ของโรคหลัก โรคร่วม โรคแทรกซ้อน หัตถการ และการผ่าตัด เมื่อ Auditor
ทบทวนและแก้ไข เพิ่มเติมให้ถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว พบว่าการสรุปค ำวินิจฉัย
โรคที่แตกต่างกันมีผลต่อการจัดกล่มุ วินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ส่งผลต่อค่า AdjRW
ซึ่งมีผลกระทบต่อจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่ต้นสังกัดต้องจ่ายคืนให้กับ
โรงพยาบาลฯ ดังนั้นแพทย์ควรตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจการสรุปคำ
วินิจฉัยโรค ซึ่งควรมีการตรวจสอบ ทบทวนเวชระเบียน แบบ Real time อย่าง
ต่อเนื่อง โดย Auditor ประจำโรงพยาบาลที่มีความรู้ ความชำนาญ เพื่อช่วย
ให้การบันทึกและการสรุปคำวินิจฉัยโรค ในเวชระเบียนผู้ป่วยมีความถูกต้อง
และครบถ้วนมากยิ่งขึ้น |
---|