ยุทธศาสตร์นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) กับสถานการณ์ที่สะท้อนผลกระทบต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย

การวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) กับสถานการณ์ ที่สะท้อนผลกระทบต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทบทวนสถานการณ์ ภายใต้นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) และผลกระทบที่มีต่อระบบสุขภาพของ ประเทศไทย ขอบเขตของการวิจัยเป็นการศึกษาคร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ธรรมรัตน์ มะโรหบุตร, Thammarat Marohabutr
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาควิชาสังคมและสุขภาพ
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/43813
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) กับสถานการณ์ ที่สะท้อนผลกระทบต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทบทวนสถานการณ์ ภายใต้นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) และผลกระทบที่มีต่อระบบสุขภาพของ ประเทศไทย ขอบเขตของการวิจัยเป็นการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย (พ.ศ. 2547-2551) จนกระทั่งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (พ.ศ. 2553-2557) โดยใช้ระเบียบการวิธีวิจัยแบบการศึกษาเชิงคุณภาพโดย การศึกษาเอกสารจากข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลตติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์นโยบายการเป็นศูนย์กลาง ทางการแพทย์ (Medical Hub) รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้น ของผู้รับบริการชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคเอกชน หลังจากประเทศไทยประสบวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ. 2540 โรงพยาบาลเอกชนจึงปรับตัวโดยการเน้นรักษา พยาบาลชาวต่างชาติมากขึ้นเพื่อเข้ามาทดแทนรายได้ที่ลดลง ประกอบกับรัฐบาลเห็นโอกาสในการแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้กับประเทศจากการให้บริการชาวต่างชาติ จึงได้กำำหนดแผนยุทธศาสตร์ ทั้ง 2 แผน โดยการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดช่วงเวลาของแผนยุทธศาสตร์มี จำนวนชาวต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นสะท้อนความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากนโยบาย อย่างไรก็ดี การที่แพทย์และพยาบาลวิชาชีพจำนวนหนึ่งลาออกจากการทำงานในภาครัฐในช่วงเวลาดังกล่าวที่สะท้อน ภาวะสมองไหลไปสู่ภาคเอกชนที่เป็นผู้ให้บริการหลักแก่ชาวต่างชาติ แสดงถึงผลกระทบประการหนึ่งที่ เกิดขึ้นกับระบบสุขภาพของประเทศไทย ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า การกำหนดและดำเนินนโยบายการเป็นศูนย์กลางทางแพทย์ (Medical Hub) ควรให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนด และดำเนินนโยบาย ทั้งนี้ เพื่อได้รับมุมมองที่รอบด้านในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ ระบบสุขภาพหลักของประเทศ อีกทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน ควรจัดตั้งกลไก และแนวทางในการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกันโดยเฉพาะทรัพยากรบุคคล เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการให้บริการใน ภาคเอกชนและภาครัฐที่เป็นผู้ให้บริการหลักในระบบสุขภาพของประเทศ