ความแตกต่างระหว่างเพศต่อการตอบสนองอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

วัตถุประสงค์:เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงในด้านการตอบสนองต่ออาการและอาการแสดงของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รูปแบบการวิจัย: การวิเคราะห์ทุติยมาน วิธีดําเนินการวิจัย:ข้อมูลจากงานวิจัยที่นํามาวิเคราะห์ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นันทิยา วัฒายุ, Nantiya Watthayu, ดวงใจ รัตนธัญญา, Duangjai Rattanathanya, วิยะดา คงแก้ว, Wiyada Khongkaew, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, Supinda Ruangjiratain
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
sex
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/44205
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์:เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงในด้านการตอบสนองต่ออาการและอาการแสดงของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รูปแบบการวิจัย: การวิเคราะห์ทุติยมาน วิธีดําเนินการวิจัย:ข้อมูลจากงานวิจัยที่นํามาวิเคราะห์ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เข้ารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จําานวน 148 ราย การตอบสนองต่ออาการและอาการแสดงวัดจากแบบสัมภาษณ์การตอบสนองต่ออาการต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test,chi square และ Fisher exact test ผลการวิจัย:ผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันส่วนใหญ่ (ร้อยละ 64.2) เป็นเพศชาย เพศหญิงส่วนใหญ่เกิดอาการที่บ้านและอยู่กับสมาชิกในครอบครัวมากกว่าเพศชาย ส่วนเพศชายเกิดอาการที่ทํางานมากกว่าเพศหญิง(χ2 = 9.07, p = .011) การตอบสนองด้านการรับรู้เพศชายส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าเป็นอาการโรคหัวใจกําเริบ (χ2 = 6.94,p = .031) และมักรอดูอาการหายไปมากกว่าเพศหญิง (χ2 = 16.47, p = .002) การตอบสนองด้านอารมณ์พบว่าผู้ชายประเมินความเจ็บปวดของอาการน้อยกว่าเพศหญิง (χ2 = 6.560, p = .028) และรู้สึกว่าสามารถควบคุมอาการได้มากกว่าเพศหญิง (χ2 = 8.89, p = .012) และรู้สึกกังวลน้อยกว่าเพศหญิง (χ2 = 8.46, p = .015) การตอบสนองด้านพฤติกรรมพบว่าเพศหญิงและเพศชายไม่แตกต่างกัน (χ2 = 6.465, p = .347) คือ ใช้การพักผ่อนและรอสังเกตอาการการตอบสนองของบุคคลอื่นพบว่ามีความแตกต่างกัน เพศชายได้รับคําแนะนําาให้พักผ่อนและรับประทานยาส่วนเพศหญิงมีการตอบสนองโดยพาไปโรงพยาบาล (χ2 = 13.248, p = .03)สรุปและข้อเสนอแนะ:ผลการศึกษานี้พบความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงต่อการตอบสนองต่ออาการและอาการแสดงต่างๆ ของอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ยกเว้นการตอบสนองด้านพฤติกรรม ผลการศึกษาทําให้เห็นถึงความจําเป็นในการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดแก่ประชาชนเพื่อลดความล่าช้าในการแสวงหาการรักษา