ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมและระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสําหรับทารกในมารดาทารกเกิดก่อนกําหนดที่ผ่าตัดคลอด
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนม และจํานวนวันหลังคลอดที่มีน้ำนมเพียงพอในมารดาของทารกเกิดก่อนกําหนดที่ผ่าตัดคลอด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามความสะดวก จากผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 28...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/44207 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนม และจํานวนวันหลังคลอดที่มีน้ำนมเพียงพอในมารดาของทารกเกิดก่อนกําหนดที่ผ่าตัดคลอด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามความสะดวก จากผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 28 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 15 ราย กลุ่มทดลอง 13 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมในมารดาของทารกเกิดก่อนกําหนดที่ผ่าตัดคลอด ซึ่งประกอบด้วย การให้ข้อมูลเกี่ยวกับทารก การให้ความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นน้ำนมการประคบเต้านม การนวดเต้านม และการบีบเก็บน้ำนม เมื่อสิ้นสุดการศึกษา ได้วิเคราะห์ความแตกต่างของปริมาณน้ำนมในวันที่ 4 และ 10 หลังคลอดของมารดาทั้งสองกลุ่มด้วยสถิติ t-test และวิเคราะห์ความแตกต่างของจํานวนวันหลังคลอดที่มารดามีปริมาณน้ำนมเพียงพอกับความต้องการของทารกเป็นวันแรก ด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัย:การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงปริมาณน้ำนมเฉลี่ยในวันที่ 4 หลังคลอด ในกลุ่มทดลองเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน (70.39±57.29 มิลลิลิตร และ 79.52±84.10 มิลลิลิตร, p = .36) ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยในวันที่ 10 หลังคลอด ในกลุ่มทดลองเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (360.76± 191.00 มิลลิลิตร และ266.06±191.15 มิลลิลิตร, p = .101) และจํานวนวันเฉลี่ยที่มารดามีปริมาณน้ำนมเพียงพอต่อความต้องการของทารกเป็นวันแรกในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (5.6±1.6 วัน และ 5.3±1.8 วัน, p = .296)สรุปและข้อเสนอแนะ: ถึงแม้ว่าผลการวิจัยครั้งนี้จะไม่พบความแตกต่างกันในเชิงสถิติ แต่โปรแกรมกระตุ้นน้ำนมนี้จะมีส่วนช่วยให้มารดาของทารกเกิดก่อนกําหนดที่ผ่าตัดคลอดมีการผลิตน้ำนม และคงไว้ซึ่งปริมาณน้ำนมที่เพียงพอสําหรับทารก พยาบาลควรนําโปรแกรมนี้มาปรับใช้และติดตามการบีบน้ำนมของมารดาให้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง |
---|