การปรับตัวของผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้สูงอายุ ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น โดยใช้แนวคิดการปรับตัวของรอย (Roy’s Adaptation Model) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ประกอบด้วย การปรับตัวด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ด้านบทบาท หน้าที่ และด้านพึ่งพาระหว่างกัน กลุ่มตัวอย่า...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/44266 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้สูงอายุ
ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น โดยใช้แนวคิดการปรับตัวของรอย (Roy’s Adaptation Model)
เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ประกอบด้วย การปรับตัวด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ด้านบทบาท
หน้าที่ และด้านพึ่งพาระหว่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป จำนวน 50
ราย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า เก็บรวบรวม
ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์
การปรับตัวในผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ
การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุวัยปลายที่มี
ความบกพร่องทางการมองเห็นซึ่งกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีสายตาเลือนรางกลุ่มตัวอย่างมีการปรับ
ตัวทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) การปรับตัวด้านร่างกาย สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้เอง แต่ยังคงมีความยาก
ลำบากในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและที่ซับซ้อน 2) ด้านอัตมโนทัศน์ใช้การปรับวิธีคิด
ในการตอบสนองต่อความบกพร่องทางการมองเห็นโดยการยอมรับความจริงและทำใจยอมรับกับสิ่ง
ที่เป็นอยู่ และคิดว่าเป็นผลของเวรกรรมที่เคยทำมา 3) ด้านบทบาทหน้าที่สามารถดูแลตนเองและ
บุคคลในครอบครัวได้แต่ยังคงต้องพึ่งพาผู้ดูแลในบางกิจกรรมและมีการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
และ 4) ด้านพึ่งพาระหว่างกัน มีสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวโดยได้รับความรัก ความห่วงใย
ความเคารพนับถือ กำลังใจ รวมถึงได้รับการดูแล ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม
การปรับตัวให้กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นเพื่อช่วยส่งเสริมให้มีการปรับตัวในชีวิต
ประจำวันและสังคมได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเพื่อ
พัฒนาการบริการแก่ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในชุมชนต่อไป |
---|