ผลของโปรแกรมการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนต่อความรู้และทักษะการดูแลทวารเทียมในญาติผู้ดูแลผู้มีทวารเทียมรายใหม่

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนต่อความรู้และทักษะการดูแลทวารเทียมของญาติผู้ดูแลผู้มีทวารเทียมรายใหม่ โดยใช้กรอบแนวคิดความสามารถในการดูแลบุคคลที่ต้องการพึ่งพา (dependent care agency) ของโอเร็มและการเรียนรู้ของบลูม กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้มีทวารเทียมร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุจินดา ลดาสุนทร, นิโรบล กนกสุนทรรัตน์, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม, Sujinda Ladasoontorn, Nirobol Kanogsunthorntrat, Suchira Chaiviboontham
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/44267
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนต่อความรู้และทักษะการดูแลทวารเทียมของญาติผู้ดูแลผู้มีทวารเทียมรายใหม่ โดยใช้กรอบแนวคิดความสามารถในการดูแลบุคคลที่ต้องการพึ่งพา (dependent care agency) ของโอเร็มและการเรียนรู้ของบลูม กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้มีทวารเทียมรายใหม่ ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 50 ราย โดยเก็บข้อมูลกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติจากพยาบาลผู้ผ่านการอบรมการดูแลผู้มีทวารเทียมและแผล 25 ราย แล้วจึงเก็บข้อมูลกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนร่วมกับการสอนแบบปกติ 25 ราย ประเมินความรู้ก่อนการสอน และประเมินความรู้และทักษะหลังการสอน และหลังจำหน่าย 1 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการใช้สื่อวีดีทัศน์ช่วยสอน แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้มีทวารเทียมและญาติผู้ดูแล แบบประเมินความรู้การดูแลทวารเทียม และแบบประเมินทักษะการดูแลทวารเทียม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์ สถิติที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า ญาติผู้ดูแลกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้การดูแลทวารเทียมหลังการสอน และหลังจำหน่าย 1 สัปดาห์สูงขึ้นกว่าก่อนการสอน แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มในทุกช่วงเวลา ทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลทวารเทียมหลังจำหน่าย 1 สัปดาห์ สูงขึ้นกว่าหลังการสอน โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลทวารเทียมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนสามารถนำมาใช้ให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลทวารเทียมในผู้มีทวารเทียมรายใหม่และญาติผู้ดูแลได้