ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) ต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยกรอบแนวคิดครั้งนี้ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มร่วมกับการใช้เทคนิค การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับเปล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: รัตนาภรณ์ จีระวัฒนะ, สิริมนต์ ริ้วตระกูล ประเทืองธรรม, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ, Ratanaporn Jerawatana, Sirimon Reutrakul, Apinya Siripitayakunkit
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/44273
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) ต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยกรอบแนวคิดครั้งนี้ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มร่วมกับการใช้เทคนิค การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลักฐานเชิงประจักษ์ผู้เข้าร่วมวิจัย เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนเข้ารักษาในโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 30 ราย เลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับโปรแกรม 3 ระยะ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 1 มีกิจกรรมระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ดังนี้ ระยะที่ 1 ส่งเสริมการรู้จักตนเองและสร้างแรงจูงใจ โดย APN ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยประเมินภาวะสุขภาพกระตุ้นสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองระยะที่ 2 ตั้งเป้าหมายและวางแผนร่วมกันให้ความรู้ในการดูแลเบาหวานฝึกทักษะและพัฒนาทักษะในการดูแล ตนเองสร้างสิ่งแวดล้อม และสร้างแรงจูงใจรวม จำนวน 3 ครั้งและในสัปดาห์ที่ 2 ดำเนินกิจกรรมระยะที่ 3 สนับสนุนการดูแลต่อเนื่องโดยติดตามทางโทรศัพท์ทุก 2 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 5 ครั้งและเปิดช่องทาง สายด่วน APN 24 ชั่วโมง เก็บข้อมูลพฤติกรรมการดูแลตนเองคุณภาพชีวิตและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ในเลือดก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรม 2 สัปดาห์ เก็บข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน 3 ครั้ง คือ ก่อน และหลังให้ความรู้ทุกด้านและหลังสิ้นสุดโปรแกรม 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบทีและสถิติความแปรปรวนแบบวัดซ้ำของฟรีดแมนผลการวิจัย พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยมีอายุ ระหว่าง 19 ถึง 87 ปี มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมเฉลี่ยลดลงจาก 11.43% เป็น 7.29% หลังสิ้นสุดโปรแกรมงานวิจัยนี้แสดงถึงประสิทธิภาพของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีปัญหาซับซ้อนโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงอย่างต่อเนื่องต่อผลลัพธ์ที่ดีด้านผู้ป่วยดังนั้นจึงควร นำโปรแกรมนี้ลงสู่การปฏิบัติแก่ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และมีปัญหา ซับซ้อนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี