การรับรู้ของผู้นำศาสนาอิสลามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักปฏิบัติทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้นำศาสนาอิสลามเกี่ยวกับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักปฏิบัติทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยใช้กรอบแนวคิดการอธิบายความเจ็บป่วยของไคล์นแมนร่วมกับแนวคิดวิถี มุสลิม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ซารินี มาซอ, พรทิพย์ มาลาธรรม, นุชนาฏ สุทธิ, Sarinee Masor, Porntip Malathum, Nuchanad Sutti
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47937
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้นำศาสนาอิสลามเกี่ยวกับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักปฏิบัติทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยใช้กรอบแนวคิดการอธิบายความเจ็บป่วยของไคล์นแมนร่วมกับแนวคิดวิถี มุสลิม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 40 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม พ.ศ. 2558 โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์กึ่ง โครงสร้าง และการบันทึกเทปเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดรับรู้ว่าการถือศีลอดเป็นการทำตามหลักปฏิบัติของบทบัญญัติของศาสนา อิสลามที่จำเป็นโดยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพ สามารถยกเว้นได้ การถือศีลอด มีประโยชน์ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และทำให้จิตใจสงบ ผู้นำศาสนามีความเห็นว่าชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนควรปรับการรับประทานอาหารทั้งจำนวนมื้อ ชนิด ปริมาณ และรูปแบบของอาหาร ส่วนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพควรปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติการ ถือศีลอด ควรทำกิจกรรมและออกกำลังกายให้น้อยลงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่อ่อนเพลีย ส่วนด้าน การดูแลสุขอนามัย ต้องดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันเป็นพิเศษ ควรไปตรวจสุขภาพและตรวจน้ำตาล ในเลือดตามนัดซึ่งถือว่าไม่ผิดหลักศาสนา ในด้านบทบาทของผู้นำศาสนา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าผู้นำ ศาสนาควรมีส่วนร่วมและสนับสนุนการดูแลสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานที่ต้องถือศีลอดในเดือน รอมฎอน นอกจากนี้ ยังมีความต้องการเข้ารับการอบรมเพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับการ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ผลการวิจัยครั้งนี้จะทำให้บุคลากร เข้าใจถึงการรับรู้ของผู้นำศาสนาอิสลามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักปฏิบัติทางศาสนาของ ชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และ บุคลากรด้านสุขภาพควร เปิดโอกาสให้ผู้นำศาสนามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อแนวการปฏิบัติตัวที่สอดคล้องกับทั้ง หลักปฏิบัติทางศาสนามุสลิมและหลักการดูแลของบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นเบาหวาน มีสุขภาพดีและความผาสุกเชิงวัฒนธรรม