ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแรนสามสิบต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคเบาหวาน ดัชนีมวลกาย และค่าน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วของผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวาน

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแรนสามสิบต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ดัชนีมวลกาย และค่าน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวานชนิดที่2ถูกเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 30 รายได้รับโปรแกรมการออก...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุพิชญา หวังปิติพาณิชย์, แสงทอง ธีระทองคำ, มะลิวัลย์ ภาคพยัคฆ์, Supichaya Wangpitipanit, Sangthong Terathongkum, Maliwan Pakpayak
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47947
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแรนสามสิบต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ดัชนีมวลกาย และค่าน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวานชนิดที่2ถูกเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 30 รายได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแรนสามสิบ (RANS30) ซึ่งตัว R คือ ความแข็งแกร่ง A คือ ความกล้าคิด N คือ จิตอาสา S คือ พัฒนาตนให้รอบรู้สู่การเป็น ผู้นำทางวิชาการ และทำงานอย่างมืออาชีพและ 30 คือ การออกกำลังกาย 30 นาทีต่อวัน โปรแกรมนี้ บูรณาการร่วมกับแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วย การสาธิตและสาธิตกลับการ ออกกำลังกายแบบแรนสามสิบ โดยมีนักศึกษาพยาบาลที่ผ่านการฝึกฝนแล้วเป็นผู้นำการออก กำลังกายผ่านสื่อวีดิทัศน์ซึ่งพัฒนาโดยผู้วิจัย ความรู้เรื่องอาหารแลกเปลี่ยน และมอบหมายให้ กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรม การป้องกันโรคเบาหวาน การประเมินดัชนีมวลกาย และน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วหลังอดอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติทีผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการ ออกกำลังกายแบบแรนสามสิบ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายลดลงเมื่อเทียบกับก่อนได้รับ โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานและค่าน้ำตาลในเลือด ปลายนิ้วไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอว่า โปรแกรมการ ออกกำลังกายแบบแรนสามสิบควรนำมาใช้ในการส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนอย่างไรก็ตาม ควรเพิ่มระยะเวลาในการศึกษาเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน และค่าน้ำตาลในเลือดให้ชัดเจนมากขึ้น