การพัฒนาเครื่องมือดึงรั้งเนื้อเยื่อปลายแหลมในการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ

การผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเป็นการผ่าตัดที่ต้องมีการตัดต่อหลอดเลือดและ เส้นประสาท ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังในการแยกเนื้อเยื่อ ปัจจัยที่จะทำให้การตัดต่อหลอดเลือด และเส้นประสาทประสบความสำเร็จได้นั้น ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการดึงรั้งเนื้อเยื่อระหว่างการ ผ่าตัดและรักษาสภาพเนื้อเยื่อก่อนนำไปปลูกถ่าย ปั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ณัฏฐ์ศศิ อนุรพันธ์, ณัฏฐชา เจียรนิลกุลชั, Natsasi Anurapan, Natthacha Chiannilkulchai
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47956
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเป็นการผ่าตัดที่ต้องมีการตัดต่อหลอดเลือดและ เส้นประสาท ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังในการแยกเนื้อเยื่อ ปัจจัยที่จะทำให้การตัดต่อหลอดเลือด และเส้นประสาทประสบความสำเร็จได้นั้น ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการดึงรั้งเนื้อเยื่อระหว่างการ ผ่าตัดและรักษาสภาพเนื้อเยื่อก่อนนำไปปลูกถ่าย ปัญหาที่พบ คือ เครื่องมือดึงรั้งเนื้อเยื่อที่นำมา ใช้มีขนาด และความลึก ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ทำผ่าตัด ส่งผลให้การผ่าตัดล่าช้าและเนื้อเยื่อ ที่นำมาปลูกถ่ายบอบช้ำจากแรงกด ผู้เขียนจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องมือดึงรั้งเนื้อเยื่อปลาย แหลมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการแยกเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ออกจากหลอดเลือดและเส้น ประสาท ช่วยให้ศัลยแพทย์มองเห็นบริเวณผ่าตัดได้ชัดเจนขึ้น ทำให้การผ่าตัดเป็นไปด้วยความ สะดวกและรวดเร็ว ประเด็นสำคัญ คือ ป้องกันเนื้อเยื่อบอบช้ำจากการผ่าตัด เครื่องมือดึงรั้งเนื้อเยื่อ ปลายแหลมนี้ประดิษฐ์จากเหล็กกล้าไร้สนิม ส่วนปลายด้านหนึ่งมีลักษณะโค้งเป็นขอเกี่ยว ทำให้ ยึดเนื้อเยื่อได้มั่นคงโดยส่วนคมไม่ทำให้เนื้อเยื่อฉีกขาด ปลายด้านตรงข้ามขดเป็นก้นหอยใช้ สำหรับสอดยางวงเพื่อยึดกับตัวหนีบผ้า จากการประเมินความพึงพอใจของศัลยแพทย์และ พยาบาลผู้ใช้เครื่องมือดึงรั้งเนื้อเยื่อ พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้ อยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด เครื่องมือดึงรั้งเนื้อเยื่อปลายแหลมนี้สามารถนำไปพัฒนารูปแบบให้เหมาะสม กับการผ่าตัดด้านอื่น และการปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับผู้ป่วยทีมี่น้ำหนักตัวมาก เพื่อลดแรงกด ภายนอก