ภาระในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะ ผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีและภาระในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มี ภาวะผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีโดยใช้แนวคิดเรื่องภาระในการดูแล ตนเองของโอเบิรสต์เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สมพิศ พงษ์วิรัตน์, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, Sompit Pongvirat, Poolsuk Janepanish Visudtibhan, Sasisopin Kiertiburanakul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47981
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะ ผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีและภาระในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มี ภาวะผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีโดยใช้แนวคิดเรื่องภาระในการดูแล ตนเองของโอเบิรสต์เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ามารับการ รักษาในคลินิกโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 177 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนเมษายน 2556 โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ผลการวิจัยพบว่าความชุกของภาวะผิดปกติ ของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี คิดเป็นร้อยละ 12.40 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมี ภาระในการดูแลตนเองโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 77.27 เมื่อพิจารณา คะแนนภาระในการดูแลตนเองรายด้านพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การจัดการเรื่อง ค่าใช้จ่าย และการหาแหล่งประโยชน์ในชุมชนเพื่อนำมาช่วยในการดูแลสุขภาพเป็นภาระในการ ดูแลตนเองมากที่สุด ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยให้ทีมสุขภาพวางแผนให้การดูแลที่เฉพาะเจาะจง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติทางระบบประสาทที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อลดภาระในการ ดูแลตนเองของกลุ่มนี้และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี