การพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอด
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยวัณโรคปอด ซึ่งประเมินจากความรู้ความพึงพอใจ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดย ประยุกต์ใช้แนวคิดการวางแผนจำหน่ายอย่างต่อเนื่องของรอด์เดนและทราฟท์เป็นกรอบแนวคิด ในการสร้างโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47988 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย
ผู้ป่วยวัณโรคปอด ซึ่งประเมินจากความรู้ความพึงพอใจ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดย
ประยุกต์ใช้แนวคิดการวางแผนจำหน่ายอย่างต่อเนื่องของรอด์เดนและทราฟท์เป็นกรอบแนวคิด
ในการสร้างโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เข้ารับการรักษา
ที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 2 และอายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัด
อุบลราชธานีระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ได้กลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่
กำหนด จำนวน 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถาม
ความรู้เรื่องวัณโรคปอด แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายในผู้ป่วย
วัณโรคปอด และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด วิเคราะห์ข้อมูล
โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (paired t-test)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายมีความรู้เรื่องวัณโรค
ปอดหลังเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผู้ป่วยวัณโรค
ปอดที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการวางแผนจำหน่าย
อยู่ในระดับมากที่สุดและมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับโปรแกรมการวางแผน
จำหน่ายอยู่ในระดับดีผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
วัณโรคช่วยเพิ่มความรู้ความพึงพอใจ และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด
จึงมีความเป็นไปได้ในการนำโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอดไปใช้เป็นแนวทาง
ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่าง
ต่อเนื่องต่อไป |
---|