ผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารเน้นโปรตีนในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารเน้นโปรตีนในผู้ป่วยไตวาย เรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อความรู้การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้พฤติกรรมในการบริโภคอาหารเน้นโปรตีน และภาวะโภ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: รวีวรรณ รัตนเรือง, วรรณภา ประไพพานิช, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, สุขฤทัย เลขยานนท์, Raweewan Rattanaruang, Wonnapha Prapaipanich, Poolsuk Janepanish Visudtibhan, Sookruetai Lekhyananda
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48349
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารเน้นโปรตีนในผู้ป่วยไตวาย เรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อความรู้การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้พฤติกรรมในการบริโภคอาหารเน้นโปรตีน และภาวะโภชนาการด้านโปรตีนได้แก่ ค่าอัลบูมินและอัตราการสลายโปรตีน โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 ราย ที่หน่วยไตเทียม มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทยโรงพยาบาลสงฆ์เก็บข้อมูลก่อนและหลังได้รับโปรแกรม4 สัปดาห์ โดยใช้แบบสอบถามความรู้การบริโภคอาหารเน้นโปรตีนแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมการบริโภคอาหารเน้นโปรตีน และบันทึกข้อมูลภาวะโภชนาการ ด้านโปรตีน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย paired t-test และ one-way repeated measure ANOVA ผลการศึกษาพบว่า หลังทดลองในสัปดาห์ที่ 4 ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้การรับรู้ พฤติกรรมการบริโภคอาหารเน้นโปรตีนและภาวะโภชนาการด้านโปรตีนสูงกว่าก่อนทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติแต่การรับรู้สมรรถนะแห่งตนไม่แตกต่างกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติเมื่อมีการติดตามผลภาวะโภชนาการด้านโปรตีนในสัปดาห์ที่13 พบว่า ค่าเฉลี่ยของอัลบูมิน ในเลือดและอัตราการสลายโปรตีนมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนทดลอง การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมดังกล่าวส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้การรับรู้พฤติกรรม ในการบริโภคอาหารโปรตีนดีขึ้น และมีภาวะโภชนาการด้านโปรตีนดีขึ้น