ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน ร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้รับการรักษา ณ สถานี อนามัยบ้านไทย หรือสถานีอนามัยเที่ยงแท้ จังห...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: แสงทอง ธีระทองคำ, ณัฏฐิรา ประสาทแก้ว, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, Sangthong Terathongkum, Nattira Prasatkaew, Wantana Maneesriwongul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48350
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน ร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้รับการรักษา ณ สถานี อนามัยบ้านไทย หรือสถานีอนามัยเที่ยงแท้ จังหวัดชัยนาท ถูกเลือกแบบเจาะจง จำนวน 66 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน ร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเยี่ยมบ้านแบบ ปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม พฤติกรรมสุขภาพ และประเมินภาวะสุขภาพ ได้แก่ ความดันเลือด เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย paired t-test และ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้าน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยความดันเลือดลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และกลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษามีข้อเสนอว่า โปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตาม ทางโทรศัพท์ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และทำให้ควบคุมความดันเลือดได้ดีขึ้น จึงควร นำมาใช้ในการดูแลผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้