ผลของเสียงเพลงโมสาร์ทต่ออัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และระยะเวลาการนอนหลับในทารกเกิดก่อนกำหนด
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบข้ามสลับ (cross-over design) เพื่อเปรียบเทียบอัตรา การเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และระยะเวลาการนอนหลับใน ทารกเกิดก่อนกำหนดขณะที่ได้รับฟังเพลงโมสาร์ทและไม่ได้รับฟังเพลงโมสาร์ท ในทารกที่มีอายุครรภ์ 32- 36 สัปดาห์ และได้รับการรักษาใ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48382 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบข้ามสลับ (cross-over design) เพื่อเปรียบเทียบอัตรา
การเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และระยะเวลาการนอนหลับใน
ทารกเกิดก่อนกำหนดขณะที่ได้รับฟังเพลงโมสาร์ทและไม่ได้รับฟังเพลงโมสาร์ท ในทารกที่มีอายุครรภ์ 32-
36 สัปดาห์ และได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรมการแพทย์
กรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2553-มกราคม พ.ศ. 2554 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ
เจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 15 ราย กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มทำการทดลอง 2 สถานการณ์คือ
สถานการณ์ที่ 1 ในวันที่ 1 หลังให้นมทารกแล้ว 30 นาที ทารกได้ฟังเสียงเพลงโมสาร์ทนาน 40 นาที ส่วนวันที่ 2
ทารกไม่ได้ฟังเสียงเพลงโมสาร์ท หรือสถานการณ์ที่ 2 ในวันที่ 1 หลังให้นมทารกแล้ว 30 นาที ทารกไม่ได้
รับฟังเสียงเพลงโมสาร์ท ส่วนวันที่ 2 ทารกได้ฟังเสียงเพลงโมสาร์ทนาน 40 นาที และบันทึกระยะการหลับ
ของทารกด้วยกล้องวีดิทัศน์ ประเมินการหลับตื่นโดยใช้แบบบันทึกการหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนด
และคู่มือการประเมินพฤติกรรมการหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย
และสถิติที ผลการศึกษาพบว่า อัตราการหายใจ ณ นาทีที่ 10, 20, 30, และ 40 ขณะที่ได้รับฟังเพลงโมสาร์ท
มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าขณะที่ไม่ได้รับฟังเพลงโมสาร์ท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระยะเวลาการนอนหลับใน
ทารกเกิดก่อนกำหนดขณะที่ได้รับฟังเพลงโมสาร์ท 40 นาที มีค่าเฉลี่ยนานกว่าขณะที่ไม่ได้รับฟังเพลงโมสาร์ท
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลของเสียงเพลงโมสาร์ทต่ออัตราการเต้นของหัวใจ และความอิ่มตัวของ
ออกซิเจนในเลือดนั้นยังสรุปได้ไม่ชัดเจน จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม จากผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทาง
ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมการนอนหลับในทารกเกิดก่อนกำหนดได้ |
---|